Executive Information System (EIS)

ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง Executive Information Systems (EIS) หรือ Executive Support Systems

                  ระบบข่าวสารเพื่อการบริหารชั้นสูง (EIS) เป็นระบบข่าวสารที่มีความสำคัญต่อผู้บริหารองค์กร ในเรื่องการพิจารณากำหนดนโยบาย วางแผนกลยุทธขององค์กร ให้สามารถจัดการองค์กร ให้สามารถดำเนินการบรรลุเป้าหมายหรือแข่งขันกับองค์กรอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
               การจัดทำระบบข่าวสารเพื่อการบริหารชั้นสูง มิอาจจัดทำโดยเอกเทศได้โดยลำพัง จะต้องรอผลการพัฒนาระบบข้อมูล-ข่าวสารขั้นต้นอื่นๆ ขึ้นก่อน ข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติงานในระบบ TPS, MIS และ/หรือ DSS จะเป็นรากฐานที่สามารถนำมาสรุปประมวลผลกับข้อมูลภายนอก (ถ้าจำเป็น)  เพื่อประกอบการตัดสินใจ บ่อยครั้งการพัฒนาระบบ EIS จากวิธีการข้างต้น มิอาจได้ข้อมูลภายในองค์กรอย่างครบถ้วน





          ข้อดีของ EIS

  1. ช่วยให้ผู้บริหารมองเห็นแนวทาง ความเป็นไปที่เป็นมา และกำลังจะมีแนวโน้มไปทางใด เพื่อให้สามารถกำหนดนโยบาย เป้าหมาย หลักๆ ขององค์กรให้สามารถธำรงองค์กรไว้ได้ แข่งขันกับคู่แข่งขันได้อย่างดี ตัวอย่างเช่นระบบ วางแผนกลยุทธ์ Strategic planning เป็นต้น
  2. ช่วยปรับปรุงการทำงานของผู้บริหารระดับสูงให้สะดวกยิ่งขึ้นได้แก่ การติดต่อประสานงานสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ทำการสืบค้น รวบรวมข้อมูลได้ง่าย เพิ่มขอบเขตและ ศักยภาพในการควบคุม วางแผนและจัดการองค์กรได้มากกว่าเดิม
  3. ช่วยสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายขององค์กรโดย เข้าใจถึงความต้องการของลูกค้าหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถเข้าใจคู่แข่ง สิ่งแวดล้อม ภายนอกและปรับปรุงภายใน 
          ข้อเสียของ EIS

  1.  EIS จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนสูง เพราะการที่ EIS จะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพได้ข้อมูลที่นำมาใช้ในระบบต้องเป็นปัจุบัน ถูกต้อง เชื่อถือได้ และต้องใช้ข้อมูลจากหลายฝ่าย หลายหน่วยงาน ทำให้งบประมาณที่ใช้ เพื่อการให้ได้มาและการบริหารการจัดเก็บข้อมูลต้องใช้เงินลงทุนที่สูง
  2. มีข้อจำกัดในการใช้งานเนื่องจาก EIS เป็นระบบที่มีโครงสร้างที่ไม่ชัดเจน ใช้วิเคราะห์และประเมินผลเฉพาะเรื่องทำให้ระบบมีความยืดหยุ่นน้อย 
  3. ข้อมูลอาจไม่เป็นที่ต้องการของผู้บริหาร
           ปัญหาของการออกแบบระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS) ของบริษัทเงินทุน Fidelity
           
 เนื่องจากตลาดเงินทุนเป็นตลาดที่การเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การเปลี่ยนแปลงนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน เช่น การเติบโตทางเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ 
อัตราแลกเปลี่ยนในตลาดหลักทรัพย์ นโยบายเศรษฐกิจของภาครัฐ ฯลฯ
             การอกแบบระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS) ของบริษัทเงินทุน Fidelity จึงทำได้ยากมาก เพราะปัจจัยในการวิเคราะตลาดเงินมีปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดเงินอยู่ตลอดเวลา ในบางครั้งตัวปัจจัยที่ทำให้ตลาดเงินเปลี่ยนแปลงอาจเป็นสิ่งที่ผู้บริหารและผู้ออกแบบระบบคาดไม่ถึงก็ได้  ข้อมูลที่ใช้ในการออกแบบ EIS จะไม่สามารถคลอบคลุมและเป็นที่ต้องการของ ผู้บริหารทั้งหมด 

          ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS) ของบริษัทเงินทุน Fidelity จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
  • บริษัทเงินทุน Fidelity สามารถการวัดผล/ตรวจสอบประสิทธิภาพการปฏิบัติตามแผนงานได้อย่าง สะดวก รวดเร็ว และทันต่อสถานการณ์
  • สามารถประเมินราคา ณ ปัจจัุบันของ สังหารริมทรัพย์และอสังหาริทรัพย์ที่บริษัทถือครองอยู่ 
  • ตรวจสอบและกำกับดูแลสถาบันการเงินสมาชิก ทั้งด้านโครงสร้างหนี้ การชำระหนี้ และวงเงินสำหรับการกู้ครั้งต่อไป
  • สามารถวางแผนการแก้ปัญหาล่วงหน้าเพื่อลดความเสี่ยง โดยใช้ EIS จำลองเหตุการณ์