วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

แนวคิดการพัฒนาระบบจัดการคดี เมาแล้วขับ โดยใช้ Web Service



สืบเนื่องด้วยนโยบายของรัฐ ที่ต้องการลดอุบัติเหตุบนท้องถนน สร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้ขับขี่และของประชาชนบนท้องถนนโดยรวม มาตรการตรวจวัดแอลกอฮอล์ผู้ขับขี่ยานพาหนะบนท้องถนนจึงกลายเป็นมาตรการสำคัญที่ถูกนำมาใช้ เพื่อใช้ในการลดอุบัติเหตุ ทั้งนี้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย ( พรบ.จราจรทางบกพ.ศ. 2522 ฉบับที่ 7 พ.ศ.2550 )
            ผู้ที่มีมีพฤติกรรมเมาแล้วขับในสังคมไทย ยังมีจำนวนมาก จึงทำให้เมาแล้วขับเป็นคดีที่ติดอันดับต้นๆของแต่ละโรงพัก การจัดการในการดำเนินคดีมียังมีความล่าช้า จึงทำให้เกิดแนวคิดแนวคิดการพัฒนาระบบจัดการคดีเมาแล้วขับ โดยใช้ Web Service โดยสังเขปรายละเอียดของระบบโดยมีเนื้อหาดังนี้


            คดีเมาแล้วขับที่นี้กล่าวถึงในที่นี้คือ คดีที่เกิดจาก ผู้ต้องหาถูกจับ จากการตรวจวัดแอลกอฮอล์ผู้ขับขี่ยานพาหนะบนท้องถนนโดยเฉพาะ ไม่นับรวม คดีเมาแล้วขับที่ก่อความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่น


  1. ชั้นสืบสวน ทำการบันทึกข้อมูลบนระบบโรงพัก บันทึกประจำวัน ,ประวัติผู้ต้องหา,คำให้การของผู้ถูกดำเนินคดี ,หลักฐานที่ใช้ในการจับกุมเช่น ข้อมูลจาก สลิปเครื่องวัดแอลกอฮอล์ ผลการตรวจเลือดจากการวัดระดับแอลกอฮอล์ในเลือด แล้วบันทึกลงระบบโรงพักระบบจะประมวลผลออกมาเป็น สำนวนคดี เพื่อส่งให้ ระบบจัดการสำนวนส่งฟ้องของอัยการ
  2. ในกรณีที่ผู้ต้องหาขอประกันตัว ผู้ต้องหรือญาติผู้ต้องหา สามารถจ่ายเงินประกัน โดยผ่าน E-Banking ได้โดยอ้างถึง ข้อมูลของ เลขที่ของคดี จำนวนเงินที่ใช้ในการประกัน(อ้างจากเกณฑ์การตีวงเงินประกัน จากชั้นพนักงานสอบสวน )ข้อมูลที่ใช้ในการประกันตัวทั้งหมดระบบโรงพักจะส่งไปให้ ระบบ E-Banking ของธนาคารต่างๆ ที่โรงพักนั้นๆเปิดให้บริการไว้                                    
    - เพื่ออำนวยความสะดวกของผู้ต้องหาในกรณีที่ไม่มีเงินสดติดตัวแต่มีเงินในธนาคาร          
    - เพื่ออำนวยสะความสะดวกแก่ญาติผู้ต้องหาในการเดินทางมาประกันตัวผู้ต้องหา              
    - อำนวยความสะดวกต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจในการจัดเก็บเงินประกันผู้ต้องหา                              
    2.1 ในกรณีที่ผู้ต้องหายื่นหลักทรัพย์อื่นในการประกันกันตัว เช่น โฉนดที่ดิน ระบบโรงพักจะทำการตรวจสอบหนังสือการรับรองการประเมินราคาที่ดิน และตรวจสอบภาระผูกพันอันอาจกระทบต่อผลการดำเนินคดี(การจำนอง)จากกรมที่ดินผ่าน Web Service ได้                        
    2.2 ในกรณีใช้หลักทรัพย์ที่สามารถกำหนดค่าได้แน่นอน และการใช้บุคคลในการประกัน(ตำแหน่ง) ผู้เขียนบทความขอข้ามเนื้อหาส่วนนี้เพราะมีข้อมูลไม่เพียงพอ
  3. อัยการทำหน้าที่ รัฐ(ทนายแผ่นดิน) ในการฟ้องคดีเมาแล้วขับ ผ่านระบบจัดการสำนวนส่งฟ้อง จากสำนวนคดีเมาแล้วขับ ที่ระบบโรงพักในพื้นที่ ที่อัยการนั้นๆรับผิดชอบส่งเข้ามาในระบบจัดการสำนวนส่งฟ้องของอัยการ  โดยระบบจะส่งเรื่องให้อัยการที่มีหน้าที่เขียนสำนวนส่งฟ้องศาล ในคดีเมาแล้วขับ อัยการทำการบันทึกคำฟ้องลงในระบบ แล้วส่งคำฟ้องไปที่ระบบจัดการการพิจารณาคดีของศาล
  4. ระบบจัดการการพิจารณาคดีศาล รับคำฟ้องจากระบบจัดการสำนวนฟ้องของอัยการ นำมาประมวลผลเพื่อคำนวนหา วันพิจารณาคดี,ผู้พิพากษาชี้ขาดตัดสินคดี, พนักงานศาลที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาคดี,เจ้าหน้าที่ตำรวจในกรณีมีการส่งตัวผู้ต้องหา
  5. ระบบจัดการการพิจารณาคดีศาล ส่งวันพิจารณาคดี ให้ ระบบโรงพักที่เป็นเจ้าของสำนวนคดีเป็นผู้รับผิดชอบในการติดต่อผู้ต้องหาและนำผู้ต้องหาให้มารับฟังคำพากษาของศาล 
  6. ถ้าผู้ต้องหลบหนี ระบบโรงพักยึดหลักทรัพย์ประกันในชั้นสอบสอน ให้ตกเป็นของแผ่นดิน ทำการออกหมายจับ เป็นผู้ต้องหาหลบหนีคดี
  7. การพิจารณาคดีของศาล ผู้พิพากษาทำการพิจารณาคดี ผ่านระบบ Video Conferrence Service ที่ระบบจัดการการพิจารณาคดีศาลขอเปิดใช้บริการ(อ้างอิงจากการพิจารณาคดีของศาลในปัจจุบันที่มีการพิจารณาคดีผ่าน Video Conferrence Service) โดยข้อมูลในการวินิฉัยคดี ข้อมูลตัดสินคดีจะถูกบันทึกลงในระบบจัดการการพิจารณาคดีศาล
  8. เมื่อศาลตัดสินชี้้ขาดคดี ระบบจัดการการพิจารณาคดีศาล จะส่งเรื่องให้ระบบโรงพัก คืนหลักทรัพย์ที่ใช้ประกันในชั้นสอบสวน
  9. ศาลมีคำตัดสินสั่งปรับ จำเลยสามารถจ่ายค่าปรับผ่าน ระบบ E-Banking ที่ศาลเปิดให้บริการไว้                                                                                                                                      
    - ถ้าจำเลยไม่มีเงินเสียค่าปรับ จำเลยอาจยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์ แทนค่าปรับได้เมื่อศาลพิจารณาและเห็นสมควรก็จะอนุญาตให้จำเลยทำงานบริการสังคมฯแทนค่าปรับโดยกำหนดจำนวนชั่วโมงที่ถือเป็นหนึ่งวันทำงาน    
    - หากจำเลยไม่ชำระค่าปรับภายใน 30 วันนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา ระบบจัดการการพิจารณาคดีศาล จะส่งเรื่องขอยึดทรัพย์สินของจำเลยใช้แทนค่าปรับ หรือสั่งกักขังแทนค่าปรับ (ถืออัตรา 200 บาทต่อ 1 วัน) อย่างไรก็ตามหากศาลมีเหตุสงสัยว่าจำเลยจะไม่ชำระค่าปรับ ศาลอาจสั่งให้กักขังจำเลยแทนค่าปรับไปก่อนก็ได้ และหากจำเลยเคยถูกควบคุม ตัวมาก่อนไม่ว่าจะเป็นชั้นสอบสวน (เรียกดูข้อมูลจากระบบโรงพักที่เป็นเจ้าของสำนวนคดี) หรือชั้นพิจารณาของศาล (เรียกดูข้อมูลจากระบบควบคุมตัวผู้ต้องหาของศาล) ศาลจะนำวันที่จำเลยถูกควบคุมตัวมาหักวันคุมขังให้ด้วยการกักขังแทนค่าปรับ  
  10. ศาลสั่งพักใบอนุญาตขับขี่เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหกเดือน (พรบ.จราจรทางบก พ.ศ.2552 ฉบับที่ 7 พ.ศ.2550 )  ระบบจัดการการพิจารณาคดีศาล ข้อมูลการสั่งพักใบอนุญาตขับขี่ ส่งให้กรมการขนส่งทางบกผ่าน Web Service  
  11. ศาลพิพากษาให้จำคุกจำเลยเป็นเวลาไม่เกิน 1 ปี หรือโทษจำคุกให้รอลงอาญาไว้ 2 ปี ระบบจัดการการพิจารณาคดีศาล  เพื่อเก็บข้อมูลของจำเลย หากจำเลยทำความผิดในระยะเวลารอลงอาญา ให้บวกโทษเดิมพร้อมโทษใหม่                                                             
  12. าลพิพากษาให้เข้าสู่กระบวนการคุมความประพฤติ และทำงานบริการสังคม(ระยะเวลาตามคำสั่งศาล)  ระบบจัดการการพิจารณาคดีศาล จะส่งเรื่องให้กับระบบคุมความประพฤติ ในระยะเวลาคุมประพฤติจำเลยต้องมารายงานตัวและทำงานบริการสังคมตามเงื่อนไขที่ศาลกำหนด หากจำเลยไม่ทำตามระบบคุมประพฤติจะส่งเรื่องให้ระบบจัดการการพิจารณาคดีศาล  ให้ศาลจะดำเนินการลงโทษตามกฎหมายต่อไป 
ผู้เขียนบทความไม่มีความรู้ทางด้านกฏหมาย  เพียงแต่ได้แนวคิดจากบุคคลที่ทำงานเกี่ยวกับการสืบสวน ,การตัดสินคดี และเพื่อนๆพี่ๆที่เรียนนิติศาสตร์ หากผิดพลาดประการใดขอท่านผู้รู้ชี้้แนะเพื่อความกระจ่างด้วยครับ

    วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2554

    การพัฒนา E-Business ในองค์กรให้มีประสิทธิ์ภาพ

                     สิ่งที่ลืมไม่ได้ของ E-Business   คือ ปัจจัยผลักดัน มิได้เกิดจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศเพียงอย่างเดียว จากช่วงปลายของทศวรรษที่ 1990 เป็นต้นมา ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในด้านการบริหารองค์กร คือ เปลี่ยนจากระบบ ทำทุกอย่างด้วยตัวเอง ที่ใช้กำลังทุนขนาดใหญ่ในการสร้างทรัพยากรทางธุรกิจ ไปเป็น ระบบ ไม่ทำทุกอย่างด้วยตัวเอง ที่ใช้พลังแห่งเครื่องหมายยี่ห้อสินค้าและองค์ความรู้เป็นอาวุธ  โดยมีความสามารถที่จะมีความร่วมมือที่แน่นแฟ้นและฉับไวระหว่างองค์กร ด้วยการใช้ E-Business   เป็นพลังขับเคลื่อนองค์กรให้ออกจากระบบทำทุกอย่างด้วยตัวเอง และเป็นตัวเร่งให้การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของอุตสาหกรรมการผลิตเร็วยิ่งขึ้น
                 ที่ผ่านมาแม้ว่าองค์กรที่ทำธุรกิจอินเทอร์เน็ตแบบ B2C(ธุรกรรมระหว่างธุรกิจกับผู้บริโภค) อาจจะมีปัญหาบ้าง แต่ E-business ก็ยังขยายตัวต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ต่อจากนี้ไปกระแสหลักของ E-Business จะไม่ใช่ B2C อีกต่อไป แต่จะเป็น B2B(ธุรกรรมระหว่างองค์กร) ระหว่างองค์กรธุรกิจที่มีอยู่เดิม ซึ่ง E-Business มีแนวโน้มเป็น 2 ลักษณะ คือ
                 1. ตลาดอิเล็กทรอนิกส์แบบ Private B2B (แบบแนวตั้ง)  ที่เน้นตลาดอิเล็กทรอนิกส์ขององค์กรในกลุ่มเดียวกัน โดยมีองค์กรที่สำคัญมากสุดอยู่ตรงกลาง จะเชื่อมต่อเป็นระบบเดียวกันกับระบบ Supply Chain Management (SCM) ของบริษัทใหญ่ เพื่อสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งและใช้ในการบริหารสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ที่มีคุณลักษณะพิเศษที่เกี่ยวข้องกับความลับของบริษัท
                  2. ตลาดอิเล็กทรอนิกส์แบบ Public B2B (แบบแนวนอน) ที่เน้นตลาดอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างกลุ่มต่างๆ ไม่มีการสร้างความแตกต่าง แต่เน้นการลดต้นทุน โดยพุ่งเป้าหมายไปที่สินค้าประเภททั่วไป  
                          
                   ท่ามกลางสภาวะแข่งขันอันรุนแรงภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ องค์กรทั้งหลายได้ลงทุนในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศระดับแนวหน้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ และการผลิตอย่างเต็มที่ โดยทบทวนและปรับปรุงให้กระบวนการทางธุรกิจนั้นไม่ซับซ้อนและเป็นระบบ โดยใช้ฐานข้อมูล ERP ทำให้สามารถรู้ถึงสถานภาพของธุรกิจในระดับภาพรวมแบบเรียลไทม์ ซึ่งมีประโยชน์มากในการสร้างกระบวนการตัดสินใจในเชิงบริหารที่รวดเร็ว และการวางแผนกลยุทธ์ในอนาคตขององค์กร
                 หลังจากกำเนิดของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต การเกิดของร้านค้าออนไลน์  การใช้เทคโนโลยี Web สำหรับการบูรณาการระบบ back office ล้วนเป็นการเข้าสู่ยุค E-Business  ซึ่งประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเพื่อเสริมอำนาจในการแข่งขันและเพิ่มกำไร และเป็นการสร้างสนามแข่งขันใหม่ทางการตลาดขององค์กรธุรกิจ
             ด้วยเหตุนี้ยุคแห่งการใช้ ERP เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในองค์กรได้สิ้นสุดลงแล้ว และกำลังเข้าสู่ยุคใหม่ ซึ่งเป็นยุคแห่งการพัฒนาเครือข่ายขนาดใหญ่ที่รวมทั้งผู้ป้อนวัตถุดิบและลูกค้าเข้าด้วยกัน เป็นระบบ อีกทั้งการเกิด E-Business และความต้องการใช้ข้อมูลร่วมกับองค์กรภายนอก ทำให้เกิดงานใหม่และ เกิดความต้องการผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีใหม่ที่จะสนับสนุนระบบใหม่ตามมา
              การกล่าวถึง ERP เพื่อความเข้าใจจะกล่าวในบทต่อไปร้อมอธิบบายการทำงานใน Mind Map

    วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

    IT and EFFICIENCY

                เวลาเข้ามาเป็นปัจจัยสำคัญของสารสนเทศและการสื่อสารทุกประเภท นั่นคือ ทฤษฎีสารเวลา (The Infotime Theory) ทฤษฎีเส้นทางที่ปราศจากการเวลา มีส่วนช่วยสนับสนุนให้เกิดกระบวนทัศน์ล้ำสมัยและแนวอนาคต (ultramodernist and futuristic paradigm)  
                ทฤษฎีสารเวลามาจากการวิจัยเชิงทดลองทางความคิด (thought experiment) บนพื้นฐานความคิดเชิงองค์รวม และความรู้ทางนิเทศศาสตร์ มนุษศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ทุกแขนง ได้รับแรงบันดาลใจจากแนวคิดทฤษฎีของพระพุทธองค์ ไอน์สไตน์ ดาร์วิน ฟรอยด์ ชรามม์ วีเนอร์ คาปรา โชปรา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสตีเฟน ฮอว์คิง (Stephen Hawking) ในหนังสือเรื่อง “A Brief History of Time” (1990)
                 ตามทฤษฎีสารเวลาสาร (Information) หมายถึงทุกสรรพสิ่งในเอกภพ คือสารทางกายภาพ (Physical Information) สารทางชีวภาพ (Biological Information) สารทางสมอง (Brain Information) และสารนอกร่างกาย (Extrasomatic Information) หรือสารสังคม (Social Information)
    การสื่อสาร คือการสร้างสภาพร่วมระหว่างผู้สื่อสาร (commonness-making) หรือการสร้างความเป็นหนึ่งเดียว (oneness-making) ของทุกสาร นับตั้งแต่อะตอม โมเลกุล ดาวฤกษ์ กาแล็กซี่ หรือดาราจักร ดาวเคราะห์ ชีวิต สังคม มาจนถึงองค์กร
                 ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถสร้าง การสื่อสารเป็นกระบวนการพลวัต
    ของความเชื่อมโยงติดต่อระหว่างกัน (dynamic process of intyerconnectedness) ที่ก่อให้เกิดสารหรือระบบ (information or system)
                 แสดงให้เห็นได้จากทฤษฎีเวลาทั้งในทางวิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ พบว่าการสื่อสารอย่างเดียวไม่พอที่จะเกิดให้เกิดระบบได้ ระบบต้องมีกระบวนการเปลี่ยนแปลงโดยตลอด (perpetual change)
                ในโลกโลกาภิวัต (globalization) ทุกระบบหรือทุกสารจึงต้องมีเวลาเป็นองค์ประกอบที่จะขาดเสียมิได้ เรียกรวมเสียใหม่ว่า สารเวลา หรือ Infotime... สารคือโครงสร้างและกระบวนการก็คือ เวลา ซึ่งจะต้องรวมกันเป็นหนึ่งเดียว

                            
                 ในที่นี้จะยกตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาและบริหารโรงแรม ในโลกโลกาภิวัต (globalization)   
          
                 ระบบประมวลผลรายการ (TPS = Transaction processing Systems) สำหรับโรงแรม
                    ถือได้ว่าระบบประมวลผลรายการ(TPS) สามารถจุดแข็ง (Strength) และสร้างความโดดเด่นให้แก่ธรุกิจโรงแรมก็ว่าใด้ เพราะหัวใจของธุรกิจการโรงแรมคือการ"ให้บริการ" การให้บริการที่รวดเร็วและแม่นยำจะสามารถสร้างความประทับใจให้แก่ลูกค้าได้เป็นอย่าง โดยระบบTPS ภายในธุระกิจโรงแรมสามารถแบ่งได้ดังนี้
    •  TPS สำหรับให้บริการลูกค้า ระบบ Service online  ซึ่งสามารถจองห้องพัก ระบบสมาชิกของโรงแรม เพื่อสร้างสิทธิพิเศษและคืนกำไรให้แก่ลูกค้า การบริการอาหารเครื่องดื่ม และบริการเสริมต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการของโรงแรม
    • TPS สามารถเพิ่มศักยภาพในการในการทำงานให้แก่บุคลากรภายใน ระบ การจัดการตารางการทำงาน ระบบสั่งซื้อวัถุดิบและเครื่องดื่ม ระบบจัดการสวัสดิการพนักงาน เป็นต้น


                ระบบสารสนเทศทรัพยากรมนุษย์ (HRIS=Human Resource Information System)

                  HRIS เป็น ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยในการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล ในธุรกิจโรมแรม โดยใช้ฐานข้อมูลที่เพื่อเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลพนักงาน (บัญชีรายชื่อพนักงานและทักษะและขีดความสามารถของพนักงานภายในองค์กร)เป็นระบบที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือการบริหารจัดการเทคนิค(Technical)การควบคุม(Control)บุคลากร และใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสภาพการทำงานของพนักงาน
                 HRIS สามารถเก็บข้อมูลต่าง ๆ ได้แก่ ข้อมูลการจ่ายเงินเดือนประจำ ผลกำไร การขาดงาน และวันลาพัก ข้อมูลการพัฒนาการบริหารซึ่งพิจารณาการฝึกอบรมและการพัฒนาที่จำเป็น ระดับการจ้างที่เพียงพอ หรือทักษะต่าง ๆ ที่มีประสิทธิผลที่สุดของทีมงาน
    HRISติดตามทักษะและประสบการณ์ของพนักงานทุกคนจะสามารถเฝ้าติดตามและประเมินการพัฒนาการบริหารได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะช่วยฝ่ายบริหาร การตัดสินใจวางแผนที่มีประสิทธิผลและการกำหนดการฝึกอบรมและการพัฒนาที่จำเป็นโดยเหมาะสมกับเวลาเพื่อพิจารณาว่าทักษะของแต่ละบุคคล( Human skills ) เพื่อช่วยให้สามารถเลือกบุคคลได้ถูกกับงานโดยเหมาะสมกับงานเวลาค้นหาพนักงานที่มีทักษะเฉพาะสำหรับตำแหน่งงานที่ว่าซึ่งจะช่วยลดเวลาค่าใช้จ่ายในการหาคนเข้าตำแหน่งจากภายนอกในเมื่อมีผู้มีคุณสมบัติอยู่แล้วได้และเพิ่มขีดความสามารถ (Competency)สูงสุดในการทำงานตามหน้าที่ ที่เหมาะสมสูงสุด
               HRIS ที่พึงมีในการบริหารจัดการโรงแรม
    • ระบบข้อมูลบุคคลากร ประวัติการทำงานประวัติทางการแพทย์ ข้อมูลเงินเดือน ข้อมูลการปันผล ข้อมูลประเมินการปฏิบัติงาน ข้อมูลการสรรหาและคัดเลือกข้อมูลการขาดงาน ข้อมูลการร้องทุกข์ ข้อมูลการสำรวจทัศนคติสำหรับองค์กร และพนัักงานด้วยกันเอง
    • ระบบบัญชีเงินเดือน สถิติและสรุปเงินเดือนแยกตามฝ่าย ปี เดือน การจ่ายเบี้ยเลี้ยงแยกตามฝ่าย อายุ ความสามารถในการปฏิบัติงาน ทักษะงาน
    • ระบบวิเคราะห์ตารางการทำงาน บันทึกจำนวนวันทำงาน ความเฉื่อยชา การลาป่วย วันลาพักผ่อน วันหยุด สารสนเทศนี้จะสามารถสรุปเป็นห้วงระยะเวลาเฉพาะได้ มีประโยชน์ในการระบุแนวโน้มการขาดงาน เช่น สามารถพิจารณาว่าจะมีการขาดงานมากที่สุดในแผนกเฉพาะ กลุ่มอายุ กลุ่มบุคคลได้ ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์จะสามารถให้ความสนใจเฉพาะที่จะขจัดสาเหตุและแก้ไขปัจหาที่เกิดขึ้นได้

             ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ( MIS = Management Information Systems )
            MIS สำหรับการบริหารจัดการโรงแรมนั้น เป็นการรวบรวมข้อมูล Transaction processing Systems (TPS) เพื่ออำนวยความสะดวกในการบริหารจัดการ วางแผน ควบคุมการทำงาน ส่งการและให้ข้อมูลข่าวสาร ของโรงแรมให้กับลูกค้าผู้มาใช้บริการ สร้างภาพลักษณ์แสดงสถานะความเติบโตของบริษัท(ในกรณีนำธุรกิจโรงแรมเข้าตลาดหลักทรัพย์)
               MIS จะมีการเชื่อมโยงจากสาขาต่างๆ และเชื่อมโยงการจัดเก็บข้อมูล เพื่อความง่ายต่อการรักษา จัดเก็บ การนำไปใช้ ควาามเป็นปัจจุบัน และความถูกต้องของข้อมูลและนำไปใช้ในการสนับสนุนกระบวนการตัดสินใจซึ่งจะกล่าวต่อไปในหัวข้อของ DSSและ ESS



              ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS = Decision Support System )

                DSS จะสามารถช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของการบริหารจัดการโรงแรมได้อย่างไร ?
    การตัดสินใจในการปฏิบัติงานและการบริหารงานได้นั้น ต้องสร้างข้อได้เปรียบเชิงธุรกิจ เชิงกลยุทธ์ และนโยบาย ดังนั้น การตัดสินใจต้องมีความ ถูกต้อง(It must be accurate) ทันเวลา (It must be timely) และ ต้องมีสารสนเทศที่สมบรูณ์ (It must be contense) คลอบคลุม
                DSS ของระบบบริหารจัดการโรงแรมจะนำข้อมูลที่ต้อง การจากระบบประมวลผล
    รายการ (TPS) และ ระบบสารสนเทศทรัพยากรมนุษย์ (HRIS=Human Resource Information System) เพื่อมาสนันสนุนการตัดสินใจ เสนอทางเลือกและลดความไม่แน่นอนในการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจ โดยสามารถแบ่งDSS เพื่อการบริหารจัดการโรงแรมได้ดังนี้
    • ระบบวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis System) ดึงข้อมูลที่ได้จาก TPS มามาจัดเรียงข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ ยอดการจอง,จำนวนรายได้,จำนวนลูกค้าที่มาเข้าพัก,ข้อมูลการเลือกใช้บริการภายในโรงแรม ข้อมูลการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้า
    • ระบบวิเคราะห์สารสนเทศ (Information Analysis System) นำข้อมูลที่ที่ผ่านการประมวลผลมาวิเคราะห์ร่วมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เช่น พฤติกรรมผู้บริโภค(ข้อมูลจากมาพฤติกรรมการเลือกใช้บริการภายในโรงแรมของลูกค้า )
      การคำนวณยอดผู้เข้าพักล่วงหน้า ความพึงพอใจของลูกค้า มาวิเคราะร่วมกับ HRISในการวิเคราะห์แรงงาน การตัดสินใจ ในการบริหารจัดการบุคลากรเข้าทำงานให้ได้ประสิทธิภาพ
    • แบบจำลองด้านการบัญชี (Accounting Model) ใช้งานด้านการวางแผนและจัดทำงบประมาณ  โดยคำนวณข้อมูลเพื่อประเมินผลลัพธ์โดยใช้ข้อกำหนดทางบัญชี   เช่น อัตราเงินเฟ้อ รายได้ และรายจ่ายในอนาคต หนี้สิน อัตราของสินทรัพย์ทั้งหมดที่มีอยู่ในธุรกิจโรงแรม (ในกรณีเพื่อวิเคราะห์วงเงินต้องการกู้จากธนาคารเพื่อการดำเนินธุรกิจ และอัตราของสินเชื่อที่มีอยู่ในปัจจุบัน)

              เห็นได้ว่า  DSS  ทำให้ ผู้บริหาร,ผู้จัดการแต่ละฝ่ายหรือแผนกที่ทำงานอยู่ในโรงแรม สามารถเรียนรู้ ทำความเข้าใจ แก้ไขและตัดสินใจปัญหาในการปฏิบัติงานได้ตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์

               ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (ESS = Executive Suport Systems)


               ESS จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงภายในกิจการโรงแรมซึ่งใช้ในการวางแผนกลยุทธ์หรือแผนการดำเนินงานระยะยาว ผู้บริหารจำเป็นต้องรู้ข้อมูลเชิงลึก เพื่อนำมาตรวจสอบ วิเคราะห์ สรุป ผลดี ผลเสีย และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหลังจากการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ
              ESS สำหรับบริหารจัดการโรงแรมนั้น เป็นระบบข้อมูลสรุปจากภายในและภายนอกของกิจการโรงแรม เช่นข้อมูลเกี่ยวกับ ตัวบ่งชี้ผลการปฎิบัติงานรายได้โดยรวมและปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจไม่ว่าจะเป็นข้อมูล เรื่องการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษี กฎหมาย นโยบายของภาครัฐที่ให้การสนับสนุน วิเคราะห์แนวโน้วของตลาดการท่องเที่ยว แนวโน้วความเติบโตของตลาดการท่องเที่ยว การประเมินคู่แข่ง การกำหนดกลยุธ์ต่างๆเพื่อสร้างส่วนแบ่งทางการตลาดให้มีปริมาณเพิ่มขึ้น ความเติบโตของสภาพเศรษกิจที่ส่งผลกระทบจากธุรกิจโรงแรม
              ESS ต้องมีความง่ายต่อการประเมินกลยุทธและการใช้งานโดยโรงแรมอาจนำข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลจากฐานข้อมูล ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ข้อมูลของกระทรวงพานิชย์ ข้อมูลการดำเนินธุรกิจในแต่ละสาขา นำมาสนับสนุนในการตัดสินใจในการกำหนดนโยบายของและกลยุทธ์โรงแรมในแต่ละไตรมาส เป็นต้น

    Mukdahan MUK-ITC: กลยุทธศาสตร์การพัฒนา MUK-ITC

    Mukdahan MUK-ITC: กลยุทธศาสตร์การพัฒนา MUK-ITC