สืบเนื่องด้วยนโยบายของรัฐ ที่ต้องการลดอุบัติเหตุบนท้องถนน สร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้ขับขี่และของประชาชนบนท้องถนนโดยรวม มาตรการตรวจวัดแอลกอฮอล์ผู้ขับขี่ยานพาหนะบนท้องถนนจึงกลายเป็นมาตรการสำคัญที่ถูกนำมาใช้ เพื่อใช้ในการลดอุบัติเหตุ ทั้งนี้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย ( พรบ.จราจรทางบกพ.ศ. 2522 ฉบับที่ 7 พ.ศ.2550 )
ผู้ที่มีมีพฤติกรรมเมาแล้วขับในสังคมไทย ยังมีจำนวนมาก จึงทำให้เมาแล้วขับเป็นคดีที่ติดอันดับต้นๆของแต่ละโรงพัก การจัดการในการดำเนินคดีมียังมีความล่าช้า จึงทำให้เกิดแนวคิดแนวคิดการพัฒนาระบบจัดการคดีเมาแล้วขับ โดยใช้ Web Service โดยสังเขปรายละเอียดของระบบโดยมีเนื้อหาดังนี้
คดีเมาแล้วขับที่นี้กล่าวถึงในที่นี้คือ คดีที่เกิดจาก ผู้ต้องหาถูกจับ จากการตรวจวัดแอลกอฮอล์ผู้ขับขี่ยานพาหนะบนท้องถนนโดยเฉพาะ ไม่นับรวม คดีเมาแล้วขับที่ก่อความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่น
- ชั้นสืบสวน ทำการบันทึกข้อมูลบนระบบโรงพัก บันทึกประจำวัน ,ประวัติผู้ต้องหา,คำให้การของผู้ถูกดำเนินคดี ,หลักฐานที่ใช้ในการจับกุมเช่น ข้อมูลจาก สลิปเครื่องวัดแอลกอฮอล์ ผลการตรวจเลือดจากการวัดระดับแอลกอฮอล์ในเลือด แล้วบันทึกลงระบบโรงพักระบบจะประมวลผลออกมาเป็น สำนวนคดี เพื่อส่งให้ ระบบจัดการสำนวนส่งฟ้องของอัยการ
- ในกรณีที่ผู้ต้องหาขอประกันตัว ผู้ต้องหรือญาติผู้ต้องหา สามารถจ่ายเงินประกัน โดยผ่าน E-Banking ได้โดยอ้างถึง ข้อมูลของ เลขที่ของคดี จำนวนเงินที่ใช้ในการประกัน(อ้างจากเกณฑ์การตีวงเงินประกัน จากชั้นพนักงานสอบสวน )ข้อมูลที่ใช้ในการประกันตัวทั้งหมดระบบโรงพักจะส่งไปให้ ระบบ E-Banking ของธนาคารต่างๆ ที่โรงพักนั้นๆเปิดให้บริการไว้
- เพื่ออำนวยความสะดวกของผู้ต้องหาในกรณีที่ไม่มีเงินสดติดตัวแต่มีเงินในธนาคาร
- เพื่ออำนวยสะความสะดวกแก่ญาติผู้ต้องหาในการเดินทางมาประกันตัวผู้ต้องหา
- อำนวยความสะดวกต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจในการจัดเก็บเงินประกันผู้ต้องหา
2.1 ในกรณีที่ผู้ต้องหายื่นหลักทรัพย์อื่นในการประกันกันตัว เช่น โฉนดที่ดิน ระบบโรงพักจะทำการตรวจสอบหนังสือการรับรองการประเมินราคาที่ดิน และตรวจสอบภาระผูกพันอันอาจกระทบต่อผลการดำเนินคดี(การจำนอง)จากกรมที่ดินผ่าน Web Service ได้
2.2 ในกรณีใช้หลักทรัพย์ที่สามารถกำหนดค่าได้แน่นอน และการใช้บุคคลในการประกัน(ตำแหน่ง) ผู้เขียนบทความขอข้ามเนื้อหาส่วนนี้เพราะมีข้อมูลไม่เพียงพอ - อัยการทำหน้าที่ รัฐ(ทนายแผ่นดิน) ในการฟ้องคดีเมาแล้วขับ ผ่านระบบจัดการสำนวนส่งฟ้อง จากสำนวนคดีเมาแล้วขับ ที่ระบบโรงพักในพื้นที่ ที่อัยการนั้นๆรับผิดชอบส่งเข้ามาในระบบจัดการสำนวนส่งฟ้องของอัยการ โดยระบบจะส่งเรื่องให้อัยการที่มีหน้าที่เขียนสำนวนส่งฟ้องศาล ในคดีเมาแล้วขับ อัยการทำการบันทึกคำฟ้องลงในระบบ แล้วส่งคำฟ้องไปที่ระบบจัดการการพิจารณาคดีของศาล
- ระบบจัดการการพิจารณาคดีศาล รับคำฟ้องจากระบบจัดการสำนวนฟ้องของอัยการ นำมาประมวลผลเพื่อคำนวนหา วันพิจารณาคดี,ผู้พิพากษาชี้ขาดตัดสินคดี, พนักงานศาลที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาคดี,เจ้าหน้าที่ตำรวจในกรณีมีการส่งตัวผู้ต้องหา
- ระบบจัดการการพิจารณาคดีศาล ส่งวันพิจารณาคดี ให้ ระบบโรงพักที่เป็นเจ้าของสำนวนคดีเป็นผู้รับผิดชอบในการติดต่อผู้ต้องหาและนำผู้ต้องหาให้มารับฟังคำพากษาของศาล
- ถ้าผู้ต้องหลบหนี ระบบโรงพักยึดหลักทรัพย์ประกันในชั้นสอบสอน ให้ตกเป็นของแผ่นดิน ทำการออกหมายจับ เป็นผู้ต้องหาหลบหนีคดี
- การพิจารณาคดีของศาล ผู้พิพากษาทำการพิจารณาคดี ผ่านระบบ Video Conferrence Service ที่ระบบจัดการการพิจารณาคดีศาลขอเปิดใช้บริการ(อ้างอิงจากการพิจารณาคดีของศาลในปัจจุบันที่มีการพิจารณาคดีผ่าน Video Conferrence Service) โดยข้อมูลในการวินิฉัยคดี ข้อมูลตัดสินคดีจะถูกบันทึกลงในระบบจัดการการพิจารณาคดีศาล
- เมื่อศาลตัดสินชี้้ขาดคดี ระบบจัดการการพิจารณาคดีศาล จะส่งเรื่องให้ระบบโรงพัก คืนหลักทรัพย์ที่ใช้ประกันในชั้นสอบสวน
- ศาลมีคำตัดสินสั่งปรับ จำเลยสามารถจ่ายค่าปรับผ่าน ระบบ E-Banking ที่ศาลเปิดให้บริการไว้
- ถ้าจำเลยไม่มีเงินเสียค่าปรับ จำเลยอาจยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์ แทนค่าปรับได้เมื่อศาลพิจารณาและเห็นสมควรก็จะอนุญาตให้จำเลยทำงานบริการสังคมฯแทนค่าปรับโดยกำหนดจำนวนชั่วโมงที่ถือเป็นหนึ่งวันทำงาน
- หากจำเลยไม่ชำระค่าปรับภายใน 30 วันนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา ระบบจัดการการพิจารณาคดีศาล จะส่งเรื่องขอยึดทรัพย์สินของจำเลยใช้แทนค่าปรับ หรือสั่งกักขังแทนค่าปรับ (ถืออัตรา 200 บาทต่อ 1 วัน) อย่างไรก็ตามหากศาลมีเหตุสงสัยว่าจำเลยจะไม่ชำระค่าปรับ ศาลอาจสั่งให้กักขังจำเลยแทนค่าปรับไปก่อนก็ได้ และหากจำเลยเคยถูกควบคุม ตัวมาก่อนไม่ว่าจะเป็นชั้นสอบสวน (เรียกดูข้อมูลจากระบบโรงพักที่เป็นเจ้าของสำนวนคดี) หรือชั้นพิจารณาของศาล (เรียกดูข้อมูลจากระบบควบคุมตัวผู้ต้องหาของศาล) ศาลจะนำวันที่จำเลยถูกควบคุมตัวมาหักวันคุมขังให้ด้วยการกักขังแทนค่าปรับ - ศาลสั่งพักใบอนุญาตขับขี่เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหกเดือน (พรบ.จราจรทางบก พ.ศ.2552 ฉบับที่ 7 พ.ศ.2550 ) ระบบจัดการการพิจารณาคดีศาล ข้อมูลการสั่งพักใบอนุญาตขับขี่ ส่งให้กรมการขนส่งทางบกผ่าน Web Service
- ศาลพิพากษาให้จำคุกจำเลยเป็นเวลาไม่เกิน 1 ปี หรือโทษจำคุกให้รอลงอาญาไว้ 2 ปี ระบบจัดการการพิจารณาคดีศาล เพื่อเก็บข้อมูลของจำเลย หากจำเลยทำความผิดในระยะเวลารอลงอาญา ให้บวกโทษเดิมพร้อมโทษใหม่
- ศาลพิพากษาให้เข้าสู่กระบวนการคุมความประพฤติ และทำงานบริการสังคม(ระยะเวลาตามคำสั่งศาล) ระบบจัดการการพิจารณาคดีศาล จะส่งเรื่องให้กับระบบคุมความประพฤติ ในระยะเวลาคุมประพฤติจำเลยต้องมารายงานตัวและทำงานบริการสังคมตามเงื่อนไขที่ศาลกำหนด หากจำเลยไม่ทำตามระบบคุมประพฤติจะส่งเรื่องให้ระบบจัดการการพิจารณาคดีศาล ให้ศาลจะดำเนินการลงโทษตามกฎหมายต่อไป
ดีครับ ถ้าโดนจับแล้วไม่ต้องเข้าไปนอนในคุก
ตอบลบ