วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

Concept Font Office for Smart Office Development

         จากบทความเรื่อง "การพัฒนาเทคโนโลยี Smart Office ของกรมสรรพสามิต"  การพัฒนา ระบบFont Office ของกรมสรรพสามิต ควรมีการเชื่อมโยง National Single Window ของกรมศุลกากร เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการของหน่วยงานจัดเก็บภาษีและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการในการขอใบอนุญาตนำเข้า ขนส่ง  สุรา ยาสูบ ไพ่  ซึ่งผู้ประกอบการสามารถยื่นคำขอใบอนุญาตนำเข้าสุรา ยาสูบ ไพ่  ได้ที่หน่วยงานของกรมสรรพสามิตเพียงแห่งเดียว   เพื่อให้สอดคล้องกับการให้บริการในยุคโลกาภิวัฒน์ และรองรับการค้าแบบไร้เอกสาร(Paperless Trading)ระบบFont Office ของกรมสรรพสามิตควรประกอบด้วย
 ด้าน Software
  1. ระบบการออกใบอนุญาติแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Licensing) หรือการออกใบรับรองแบบอิเล็กทรอนิกส์(e-Certificate) เพื่ออำนวยความสะดวกรวดเร็วในการ ออกและขอใบอนุญาติ ,ใบรับรอง การจดทะเบียนสรรพสามิต เพื่อการทำงานสอดคล้องกับระบบ ศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์(e-Costoms)ของกรมศุลการกร ในส่วนนี้กรมสรรพสามิตควรมี Back Office เชื่อมโยงข้อมูลกับ ระบบลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์(Digital Signature) กับองค์กรรับรองความถูกต้อง(Certificate Authority หรือCA) เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 
  2. ระบบการเคลื่อนย้ายสินค้าสรรพสามิตโดยใช้เทคโนโลยี RFID:Radio Frequency Identification (e-Transition) เพื่ออำนวยความสะดวกในการติดตามสินค้าสรรพสามิตของผู้ประกอบการ 
  3. ระบบการคืนภาษีสรรพสามิต(e-Drawback) เป็นการให้สิทธิประโยชน์ในการคืนอากรสำหรับผู้ประกอบการ สำหรับงานขอคืน ยกเว้นภาษีสรรพสามิตและการหักลดหย่อนภาษีสรรพสามิต
  4. ระบบชำระภาษีสรรพสามิต(e-Payment)เพื่่อความสะดวกรวดเร็วในการชำระเงินให้แก่ผู้ประกอบการ
  5. ระบบคลังสินค้าทัณฑ์บน (e-Wearehousing) เพื่อจัดการและให้บริการเรื่องการจัดเก็บสินค้าสรรพสามิต
     ด้าน Hardware


             ควรเป็นการลงทุนแบบ ขอความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเชื่อมโยงข้อมูลโดยใช้เครื่องมือทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ หรือระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของหลายๆหน่วยงาน เพื่อรวมศูนย์เข้าสู่ฐานข้อมูลเดียวกัน โดยมุ่งเน้นให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว ลดขั้นตอนงานที่ซ้ำซ้อนลง ตลอดจนการบูรณาการแนวคิด และยุทธศาสตร์ ให้ตอบรับกับระบบงานระหว่างส่วนราชการด้วยกัน (Government to Government: G2G) และระบบงานระหว่างส่วนราชการกับภาคเอกชน (Government to Business: G2B) ซึ่งโดยปกติแล้ว ก็จจากการเร่งรัดะมีการรับ-ส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เชื่อมระบบกันในภาคธุรกิจต่อธุรกิจ หรือภาคเอกชนด้วย (Business to Business: B2B) 

  1. เทคโนโลยีเสมือน (Virtualization Technology)การจำลองเครื่องเสมือนให้สามารถใช้งานระบบประมวลผ หน่วยความจำ และฮาร์ดดิสก์ร่วมกันได้ในส่วนประกอบของเซิร์ฟเวอร์และสตอเรจ ผ่านทางระบบจัดการทรัพยากรส่วนกลาง ทำให้มีการใช้งานทรัพยากรไอทีได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถลดต้นทุนได้ในระยะยาว
  2. ระบบประมวลผลก้อนเมฆ (Cloud Computing) รูปแบบของการนำทรัพยากรไอทีทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์มาแบ่งกันใช้งานในลักษณะของการให้บริการ (Service) โดยมีการใช้งานผ่านทางอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงจากที่ต่างๆ ของโลก ซึ่งรูปแบบของการให้บริการแบบนี้สามารถแบ่งได้ออกเป็น 1) Private Cloud 2) Public Cloud และ 3) Hybrid Cloud ซึ่งเป็นการนำเอา Private Cloud และ Public Cloud มาทำงานร่วมกัน ซึ่งการใช้บริการนี้จะทำให้กรมสรรพสามิต สามารถลดต้นทุนไปได้มาก เพราะเป็นการใช้งานแบบจ่ายตามจริง 
  3. เทคโนโลยีจัดเก็บข้อมูลผ่านทางไอพี (IP Storage Technology)บนมาตรฐานไอสกัสซี (Small Computer Systems Interface over IP : iSCCI) ซึ่งเป็นการเข้าถึงอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลผ่านเครือข่าย มีจุดเด่นอยู่ที่การบริหารจัดการข้อมูลแบบรวมศูนย์ โดยการเชื่อต่อกับเซิร์ฟเวอร์ทุกตัวภายในองค์กรด้วยใยแก้วนำแสง (Fiber Channel) จึงทำให้ส่งผ่านข้อมูลขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว และสามารถดึงข้อมูลจากจุดใดก็ได้ การบริหารข้อมูลแบบนี้ช่วยลดต้นทุนในการจัดการและบำรุงรักษาได้มากกว่าการจัดเก็บข้อมูลแบบหลายจุด หรือการจัดเก็บที่เซิร์ฟเวอร์โดยตรง
ด้าน Peopelware

  1.  ทำการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการใช้ Software และ Hardware ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานสูงสุด
  2. จัดอบรมการวิธีดูแลรักษา Software และ Hardware เพื่อให้ระบบต่างๆเพื่อการคงสภาพการใช้งานของระบบ
        ซึ่งจะสามารถนำไปสู่การพัฒนาระบบเทคโนโลยี เพื่อนําไปสู่วิสัยทัศน์คือ องค์กรพลวัตเพื่อการจัดเก็บภาษีที่มีมาตรฐานสากล ปกป้องสังคมและสิ่งแวดล้อม 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น