วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ระบบหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินยางสักกระโพหลุ่ม


ระบบหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินยางสักกระโพหลุ่ม



โครงการ                    ระบบหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินยางสักกระโพหลุ่ม                        
หน่วยงานรับผิดชอบ     โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยางสักกระโพ-หลุ่ม อำเภอม่วงสามสิบ
                  จังหวัด อุบลราชธานี


1.1  หลักการและเหตุผล

             หน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยางสักกระโพ-หลุ่ม อำเภอม่วงสามสิบ  จังหวัดอุบลราชธานี ให้บริการประชาชนในเขตรับผิดชอบตั้งแต่เดือนตุลาคม 2549 เป็นต้นมา ตามโครงการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานีกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี โดยรถพยาบาลของหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินและวิทยุสื่อสารประจำรถ องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานีเป็นผู้สนับสนุน การฝึกอบรมพนักงานกู้ชีพฉุกเฉินตามหลักสูตรเวชกรฉุกเฉินระดับพื้นฐาน (EMT-B) หลักสูตร 110 ชั่วโมง และอุปกรณ์ทางการแพทย์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานีรับผิดชอบ ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินเป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับอุบัติเหตุ และการเจ็บป่วยฉุกเฉินที่ล่าช้าไม่ได้รับการช่วยเหลือการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพและคุณภาพอย่างทันท่วงที หน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยาง-สักกระโพหลุ่ม มีพนักงานกู้ชีพ 6 คน ผ่านการอบรมหลักสูตร EMT-B จำนวน 4 คน และผ่านการอบรมชุดปฏิบัติการปฐมพยาบาล FR จำนวน 2 คน มีผลการดำเนินงานเฉลี่ยเดือนละ 95 ราย  รับผิดชอบ 4 ตำบล คือ ตำบลยางสักกระโพหลุ่ม ตำบลหนองไข่นก ตำบลโพนแพง และตำบลเตย จำนวน 40 หมู่บ้าน  ประชากร 27,500 คน ในการนี้ให้บริการทุกครั้งพนักงานกู้ชีพจะต้องบันทึกรายงานการให้บริการในแบบฟอร์มรายงาน  และรายงานแจ้งศูนย์สั่งการทันทีหลังจากเสร็จสิ้นการส่งผู้ป่วยและกลับถึงที่ตั้งหน่วย ทุกวันที่ 20 ของเดือนพนักงานกู้ชีพจะต้องจัดทำรายงาน ส่งที่ศูนย์สั่งการเพื่อขอเบิกเงินค่าตอบแทน ปัญหาที่พบในการปฏิบัติของพนักงานกู้ชีพ คือ การรวบรวมรายงานที่มีความซ้ำซ้อน ไม่ครบถ้วน อ่านการวินิจฉัยโรคของแพทย์หรือพยาบาลไม่ถูกต้อง และไม่ได้รวบรวมข้อมูลการให้บริการมาวิเคราะห์ เพื่อพัฒนาตนเองและตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพมากที่สุดเพื่อให้เกิดความพึงพอใจของผู้รับบริการ 
ดังนั้นจึงได้จัดทำและพัฒนาโปรแกรมระบบฐานข้อมูลการให้บริการของหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อช่วยในการเก็บข้อมูลและประมวลผลรายงานเพื่อให้ระบบข้อมูลมีคุณภาพครบถ้วน สามารถนำไปใช้การพัฒนาการให้บริการ เพื่อให้พนักงานกู้ชีพมีความสะดวกและรวดเร็วในการรวบรวมรายงาน
1.2  วัตถุประสงค์
                        1.2.1   เพื่อช่วยในการเก็บข้อมูลและประมวลผลรายงานเพื่อให้ระบบข้อมูลมีคุณภาพครบถ้วน
  1.2.2  เพื่อนำไปใช้การพัฒนาการให้บริการ
  1.2.3  เพื่อให้พนักงานกู้ชีพมีความสะดวกและรวดเร็วในการรวบรวมรายงาน
  1.2.4  เพื่อให้การดำเนินงานได้มาตรฐาน  ครอบคลุม และมีความยั่งยืน

1.3  ขอบเขตของระบบงาน

                     การพัฒนาโปรแกรมระบบฐานข้อมูลหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ให้เป็นที่เก็บรวบรวมข้อมูลการให้บริการของหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินยางสักกระโพหลุ่ม ผู้จัดทำโครงการได้พิจารณาแล้วเห็นว่ามีบุคคลที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
                     1.3.1  ผู้ดูแลระบบ
                                1.3.1.1  สามารถตั้งค่าหน่วยบริการได้
                                1.3.1.2  สามารถเพิ่ม ลบ แก้ไข ข้อมูลผู้ใช้งานระบบได้
                     1.3.2  เจ้าหน้าที่
                                1.3.2.1  สามารถค้าหา เพิ่ม ลบ  แก้ไข้ ข้อมูลหลัก  ซึ่งได้แก่  ข้อมูลประชากร  ข้อมูลเจ้าหน้าที่   ข้อมูลรถ    และคู่มือการวินิจฉัยโรค  ได้
                              1.3.2.2  สามารถนำข้อมูลตามแบบบันทึกบริการการแพทย์ฉุกเฉินมาบันทึกลงในระเบียน  สามารถเพิ่ม ลบ แก้ไขข้อมูลได้
                              1.3.2.3  สามารถประมวลผลรายงานและพิมพ์รายงานต่างๆ  เพื่อนำส่งไปยังศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉิน อุบลราชธานีและจัดเก็บข้อมูลเป็นหมวดหมู่ได้

1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

       1.4.1  มีสะดวกรวดเร็วในการเก็บข้อมูลประมวลผลรายงานเพื่อให้ระบบข้อมูลมีคุณภาพครบถ้วน
                       1.4.2  สามารถนำข้อมูลไปใช้การพัฒนาการให้บริการได้
                       1.4.3  มีความสะดวกและรวดเร็วในการรวบรวมรายงาน
                       1.4.4  การดำเนินงานได้มาตรฐาน  ครอบคลุม และมีความยั่งยืน
                        1.4.5 สามารถนำโปรแกรมไปประยุกต์ใช้งานบนโทรศัพท์มือถือได้

1.5  ระยะเวลาดำเนินการ




1.6   สถานที่ดำเนินการ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยางสักกระโพ-หลุ่ม อำเภอม่วงสามสิบ
                  จังหวัด อุบลราชธานี
                 
                  1.7 วิธีการดำเนินงานโครงงาน

                  1.7.1.  ศึกษาค้นคว้าทฤษฎีและผลงานที่เกี่ยวข้อง                                  
               1.7. 2.  กำหนดขอบเขตและเป้าหมายของโครงงาน
               1.7.3.  ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการของระบบ
               1.7.4.  วิเคราะห์และออกแบบฐานข้อมูลของระบบทั้งหมด
               1.7.5.  ออกแบบและพัฒนา ระบบ
               1.7.6.  เขียนโปรแกรมระบบและทดสอบปรับปรุงระบบ
               1.7.7.  จัดทำเอกสาร คู่มือการใช้
               1.7.8.  นำเสนอโครงการ

1.8   งบประมาณ
ใช้งบประมาณจากข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ในส่วนที่เกี่ยวข้อง ตามความจำเป็น และเป็นไปโดยประหยัด
1.9     ผู้รับผิดชอบ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยางสักกระโพ-หลุ่ม อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี


1.10     ผู้เขียนโครงการ

( นายอนุสรณ์  อุ่นท้าว)
ผู้เขียนโครงการ

1.11  ผู้พิจารณาและตรวจสอบโครงการ
ความเห็นผู้พิจารณาและตรวจสอบโครงการ....................................................................

(                                           )
หัวหน้าส่วนฝ่ายบริการ
                 1.12  ผู้อนุมัติโครงการ
ความเห็นผู้อนุมัติโครงการ........................ .......................................................................

(                                        )
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยางสักกระโพ-หลุ่ม



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น