EFFICIENCY OF MIS
จำนวนการดูหน้าเว็บรวม
วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2554
วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2554
Project Management 11/12/2011 (Part 2)
จากโจทย์
1. การเร่งงาน มีประโยชน์หรือไม่อย่างไร ให้ยกตัวอย่างประกอบ
2. การเร่งงาน ท่านคิดว่าปัจจัยอะไรที่จะต้องพ ิจารณาเป็นพิเศษ อธิบายประกอบเพื่อให้เข้าใจมากย ิ่งขึ้น
3. การเร่งงาน ที่ดี ท่านคิดว่าจะต้องเรียงลำดับความ สำคัญจากอะไรก่อนหลัง เพราะอะไร
4. การพัฒนาโปรแกรมหรือระบบสารสนเท ศใดๆ นั้น การเร่งงานมีส่วนมาเกี่ยวข้องหร ือไม่อย่างไร
1.การเร่งงานมีประโยชน์หรือไม่ อย่างไร
การเร่งงานมีประโยชน์ในการ การระดมทรัพยากรต่างๆให้เหมาสมกับงานและลดผลกระทบโดยนำสถาณการณ์วิเคราะห์สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับโครงการการได้เช่น
1. การเร่งงาน มีประโยชน์หรือไม่อย่างไร ให้ยกตัวอย่างประกอบ
2. การเร่งงาน ท่านคิดว่าปัจจัยอะไรที่จะต้องพ
3. การเร่งงาน ที่ดี ท่านคิดว่าจะต้องเรียงลำดับความ
4. การพัฒนาโปรแกรมหรือระบบสารสนเท
1.การเร่งงานมีประโยชน์หรือไม่ อย่างไร
การเร่งงานมีประโยชน์ในการ การระดมทรัพยากรต่างๆให้เหมาสมกับงานและลดผลกระทบโดยนำสถาณการณ์วิเคราะห์สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับโครงการการได้เช่น
- เวลาแล้วเสร็จของโครงการตามแผนใช้เวลามากกว่าเวลากำหนดไว้
- เร่งระยะเวลาทำงานของงานบางงานในโครงการให้สั้นกว่าปกติ
- ค่าใช้จ่ายของโครงการอาจสูงเกินไปถ้าปล่อยให้ดำเนินตามแผน
- เร่งเวลาอาจทำให้ค่าใช้จ่ายลดลง
- ค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินค่าปรับ
- ค่าล่วงเวลา
- การเร่งงานต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
- ค่าล่วงเวลา
2. การเร่งงาน ท่านคิดว่าปัจจัยอะไรที่จะต้องพ ิจารณาเป็นพิเศษ อธิบายประกอบเพื่อให้เข้าใจมากย ิ่งขึ้น
ปัจจัยของการเร่งเวลาของโครงการต้องเร่งงานที่อยู่ในสายงานวิกฤติให้เสร็จเร็วขึ้น พิจารณางานวิกฤติเพื่อเร่งให้เร็วขึ้นนั้นต้องพิจารณางานวิกฤติที่มีอัตราค่าใช้จ่ายต่อหน่วยเวลาน้อยที่สุด
รูปที่ 1 ความสัมพันธ์ค่าใ้ช้จ่ายและเวลา
โดยพยายามเร่งรัดบนเส้นทางวิกฤติให้มากที่สุด เลือกจาก ความลาดชันต่ำสุดถ้าไม่เกิดเส้นทางวิกฤติใหม่ให้เร่งรัดไปเรื่อยๆจนไม่สามารถลดได้
3. การเร่งงานที่ดีท่านคิดว่าควรลำดับจากอะไรก่อนหลังเพราะอะไร
1) กำหนดความต้องการการเร่งงานว่าต้องการให้เสร็จภายในกี่วัน
2) คำนวณเวลาเสร็จของโครงการ ระบุกิจกรรมวิกฤติ และเส้นทางวิกฤติ
3) เร่งกิจกรรมที่มีค่าใช้จ่ายต่ำสุด
4) คำนวณเวลาแล้วเสร็จถ้าไม่ได้ตามเป้าให้กลับไปทำ ข้อ 3
5) ปรับปรุงกำหนดงาน
4. การพัฒนาโปรแกรมหรือระบบสารสนเทศใดๆ นั้น การเร่งงานมีส่วนมาเกี่ยวข้องหรือไม่อย่างไร
โครงการใดๆนั้นจะประกอบด้วยกิจกรรมย่อย ที่ต้องคอยจัดการว่าจะทำอะไรก่อนหลังต้องใช้ทัรพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดย การเร่งงานและการวิเคราะห์การฟงานภายในโครงการ จะช่วยให้เราสามารถมองกิจกรรมต่างๆภายในโครงการได้ และคำนวณเวลาที่ใช้ในกิจกรรม สามารถ เลือกขั้นตอนได้อย่างเป็นระบบ
โดยเฉพาะการการพัฒนาโปรแกรมหรือระบบสารสนเทศ ที่มีโครงการใหญ่ๆและซับซ้อน ที่มีระบบงานที่กระจายเป็นระบบย่อยๆ และมี จำนวนมาก งานที่ดำเนินการอยู่อาจจำเป็นต้อง'เร่งการดำเนินการเพื่อควบคุมการทำงาน ตามแผนที่ได้วางไว้ หรือแล้วเสร็จเร็วกว่ากำหนด
โดยเฉพาะการการพัฒนาโปรแกรมหรือระบบสารสนเทศ ที่มีโครงการใหญ่ๆและซับซ้อน ที่มีระบบงานที่กระจายเป็นระบบย่อยๆ และมี
วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2554
4/12/2011 midterm
โครงการพัฒนาระบบหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินยางสักกระโพหลุ่ม
ประกอบด้วยงานย่อย 9
งาน
ซึ่งมีลำดับการทำงานและระยะเวลาการทำงานแสดงในตารางต่อไปนี้
วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
Project Management 20/11/2011
- คำถามที่ 1 เอกสาร power point หน้า 13 มีกี่เส้นทาง ที่เป็นไปได้ และเส้นทางใดเป็น critical path พร้อมบอกระยะเวลาที่วิกฤติ
- A < D < I =0+3+8+6
- B < E < G < J = 0 +5+5+4+4
- C < F < H < J =0+7+5+5+4
วิเคราะห์หาวิถีวิกฤตของข่ายงาน วิถีวิกฤตของข่ายงานประกอบด้วยกิจกรรม C, F, H และJ โดยมีเวลาแล้วเสร็จของโครงการเท่ากับ 21 วัน
2. คำถามที่ 2 ท่านคิดว่า CPM กับ PERT ต่างกันอย่างไร หน้า 19 กับ 26
ทั้งสองเป็นเทคนิคการวิเคราะห์กิจกรรมในการประเมินความเป็นไปได้ ใช้สำหรับโครงการที่มีกิจกรรมขนาดใหญ่ มีกิจกรรมย่อย ๆ หลายกิจกรรม ใช้เทคนิคการวิเคราะห์แบบเครือข่ายหรือโครงข่าย
ข้อแตกต่างชัดเจนระหว่าง PERT และ CPM คือ เวลาในการทำกิจกรรม กล่าวคือ เวลาในการทำกิจกรรมของ PERT จะเป็นเวลาโดยประมาณซึ่งคำนวณได้ด้วยการใช้ความน่าจะเป็น PERT จึงใช้กับโครงการที่ไม่เคยทำมาก่อน หรือโครงการซึ่งไม่สามารถเก็บรวบรวมเวลาของการทำกิจกรรมได้ เช่น โครงการพัฒนาวิจัย ส่วน CPM นั้น เวลาที่ใช้ในกิจกรรมจะเป็นเวลาที่แน่นอน ซึ่งคำนวณได้จากข้อมูลที่เคยทำมาก่อน เช่น อัตราการทำงานของงานแต่ละประเภท อัตราการทำงานของเครื่องจักร เป็นต้น CPM จึงใช้กับโครงการที่เคยทำมาก่อน ซึ่งมีความชำนาญแล้ว
CPM (Critical Path Method)
-ใช้วางแผนควบคุม
-ผู้วางแผนควรมีประสบการณ์
-ต้องทราบรายละเอียด เวลา ทรัพยากรล่วงหน้า
-เวลาแต่ละงานแน่นอน และมีค่าเดียว
PERT(Program Evaluation and Review Technique)
-ใช้ปรับปรุง วางแผนประเมินงานใหม่ ๆ
-ผู้ดำเนินงานไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์
-มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดงานบ่อย
-เวลา ไม่แน่นอน มี 3 ค่า จกรรมแล้วเสร็จได้เร็วที่สุด (optimistic time),กิจกรรม
แล้วเสร็จได้ช้าที่สุด (pessimistic time) ทำกิจกรรมแล้วเสร็จ
(most pikely time) ทำให้ทราบถึงเวลาแล้วเสร็จของโครงการว่าเป็นเท่าใด
และกิจกรรมใดบ้างที่อยู่ในวิถีวิกฤต
ซึ่งจะทำไปสู่การวางแผนตัดสินใจเพื่อ
ควบคุมโครงการ หรือเร่งรัดโครงการต่อไป
วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
ระบบหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินยางสักกระโพหลุ่ม
ระบบหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินยางสักกระโพหลุ่ม
โครงการ ระบบหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินยางสักกระโพหลุ่ม
หน่วยงานรับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยางสักกระโพ-หลุ่ม อำเภอม่วงสามสิบ
จังหวัด อุบลราชธานี
1.1 หลักการและเหตุผล
หน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยางสักกระโพ-หลุ่ม
อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี
ให้บริการประชาชนในเขตรับผิดชอบตั้งแต่เดือนตุลาคม 2549 เป็นต้นมา
ตามโครงการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสครองสิริราชสมบัติครบ
60 ปี ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานีกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
โดยรถพยาบาลของหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินและวิทยุสื่อสารประจำรถ
องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานีเป็นผู้สนับสนุน
การฝึกอบรมพนักงานกู้ชีพฉุกเฉินตามหลักสูตรเวชกรฉุกเฉินระดับพื้นฐาน (EMT-B) หลักสูตร 110 ชั่วโมง
และอุปกรณ์ทางการแพทย์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานีรับผิดชอบ
ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินเป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับอุบัติเหตุ
และการเจ็บป่วยฉุกเฉินที่ล่าช้าไม่ได้รับการช่วยเหลือการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพและคุณภาพอย่างทันท่วงที
หน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยาง-สักกระโพหลุ่ม
มีพนักงานกู้ชีพ 6 คน ผ่านการอบรมหลักสูตร EMT-B จำนวน 4 คน
และผ่านการอบรมชุดปฏิบัติการปฐมพยาบาล FR จำนวน 2 คน
มีผลการดำเนินงานเฉลี่ยเดือนละ 95 ราย
รับผิดชอบ 4 ตำบล คือ ตำบลยางสักกระโพหลุ่ม ตำบลหนองไข่นก ตำบลโพนแพง
และตำบลเตย จำนวน 40 หมู่บ้าน ประชากร
27,500 คน ในการนี้ให้บริการทุกครั้งพนักงานกู้ชีพจะต้องบันทึกรายงานการให้บริการในแบบฟอร์มรายงาน
และรายงานแจ้งศูนย์สั่งการทันทีหลังจากเสร็จสิ้นการส่งผู้ป่วยและกลับถึงที่ตั้งหน่วย
ทุกวันที่ 20 ของเดือนพนักงานกู้ชีพจะต้องจัดทำรายงาน
ส่งที่ศูนย์สั่งการเพื่อขอเบิกเงินค่าตอบแทน
ปัญหาที่พบในการปฏิบัติของพนักงานกู้ชีพ คือ การรวบรวมรายงานที่มีความซ้ำซ้อน
ไม่ครบถ้วน อ่านการวินิจฉัยโรคของแพทย์หรือพยาบาลไม่ถูกต้อง
และไม่ได้รวบรวมข้อมูลการให้บริการมาวิเคราะห์
เพื่อพัฒนาตนเองและตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพมากที่สุดเพื่อให้เกิดความพึงพอใจของผู้รับบริการ
ดังนั้นจึงได้จัดทำและพัฒนาโปรแกรมระบบฐานข้อมูลการให้บริการของหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินขึ้น
โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อช่วยในการเก็บข้อมูลและประมวลผลรายงานเพื่อให้ระบบข้อมูลมีคุณภาพครบถ้วน
สามารถนำไปใช้การพัฒนาการให้บริการ เพื่อให้พนักงานกู้ชีพมีความสะดวกและรวดเร็วในการรวบรวมรายงาน
1.2 วัตถุประสงค์
1.2.2 เพื่อนำไปใช้การพัฒนาการให้บริการ
1.2.3 เพื่อให้พนักงานกู้ชีพมีความสะดวกและรวดเร็วในการรวบรวมรายงาน
1.2.4 เพื่อให้การดำเนินงานได้มาตรฐาน ครอบคลุม และมีความยั่งยืน
1.3
ขอบเขตของระบบงาน
การพัฒนาโปรแกรมระบบฐานข้อมูลหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
ให้เป็นที่เก็บรวบรวมข้อมูลการให้บริการของหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินยางสักกระโพหลุ่ม
ผู้จัดทำโครงการได้พิจารณาแล้วเห็นว่ามีบุคคลที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
1.3.1 ผู้ดูแลระบบ
1.3.1.1 สามารถตั้งค่าหน่วยบริการได้
1.3.1.2 สามารถเพิ่ม ลบ แก้ไข
ข้อมูลผู้ใช้งานระบบได้
1.3.2 เจ้าหน้าที่
1.3.2.1 สามารถค้าหา เพิ่ม ลบ แก้ไข้ ข้อมูลหลัก ซึ่งได้แก่
ข้อมูลประชากร
ข้อมูลเจ้าหน้าที่ ข้อมูลรถ และคู่มือการวินิจฉัยโรค ได้
1.3.2.2 สามารถนำข้อมูลตามแบบบันทึกบริการการแพทย์ฉุกเฉินมาบันทึกลงในระเบียน สามารถเพิ่ม ลบ แก้ไขข้อมูลได้
1.3.2.3 สามารถประมวลผลรายงานและพิมพ์รายงานต่างๆ เพื่อนำส่งไปยังศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉิน
อุบลราชธานีและจัดเก็บข้อมูลเป็นหมวดหมู่ได้
1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.4.1 มีสะดวกรวดเร็วในการเก็บข้อมูลประมวลผลรายงานเพื่อให้ระบบข้อมูลมีคุณภาพครบถ้วน
1.4.2 สามารถนำข้อมูลไปใช้การพัฒนาการให้บริการได้
1.4.3 มีความสะดวกและรวดเร็วในการรวบรวมรายงาน
1.4.4 การดำเนินงานได้มาตรฐาน ครอบคลุม และมีความยั่งยืน
1.4.5 สามารถนำโปรแกรมไปประยุกต์ใช้งานบนโทรศัพท์มือถือได้
1.4.5 สามารถนำโปรแกรมไปประยุกต์ใช้งานบนโทรศัพท์มือถือได้
1.5 ระยะเวลาดำเนินการ
1.6 สถานที่ดำเนินการ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยางสักกระโพ-หลุ่ม อำเภอม่วงสามสิบ
จังหวัด อุบลราชธานี
1.7 วิธีการดำเนินงานโครงงาน
1.7 วิธีการดำเนินงานโครงงาน
1.7.1. ศึกษาค้นคว้าทฤษฎีและผลงานที่เกี่ยวข้อง
1.7. 2. กำหนดขอบเขตและเป้าหมายของโครงงาน
1.7.3. ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการของระบบ
1.7.4. วิเคราะห์และออกแบบฐานข้อมูลของระบบทั้งหมด
1.7.5. ออกแบบและพัฒนา ระบบ
1.7.6. เขียนโปรแกรมระบบและทดสอบปรับปรุงระบบ
1.7.7. จัดทำเอกสาร คู่มือการใช้
1.7.8. นำเสนอโครงการ
1.8 งบประมาณ
ใช้งบประมาณจากข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2554 ในส่วนที่เกี่ยวข้อง ตามความจำเป็น
และเป็นไปโดยประหยัด
1.9 ผู้รับผิดชอบ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยางสักกระโพ-หลุ่ม
อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี
1.10 ผู้เขียนโครงการ
( นายอนุสรณ์ อุ่นท้าว)
ผู้เขียนโครงการ
1.11 ผู้พิจารณาและตรวจสอบโครงการ
ความเห็นผู้พิจารณาและตรวจสอบโครงการ....................................................................
( )
หัวหน้าส่วนฝ่ายบริการ
1.12 ผู้อนุมัติโครงการ
ความเห็นผู้อนุมัติโครงการ........................ .......................................................................
( )
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยางสักกระโพ-หลุ่ม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)