วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2554

Project Management 11/12/2011 (Part 2)

จากโจทย์


1. การเร่งงาน มีประโยชน์หรือไม่อย่างไร ให้ยกตัวอย่างประกอบ
2. การเร่งงาน ท่านคิดว่าปัจจัยอะไรที่จะต้องพิจารณาเป็นพิเศษ อธิบายประกอบเพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น
3. การเร่งงาน ที่ดี ท่านคิดว่าจะต้องเรียงลำดับความสำคัญจากอะไรก่อนหลัง เพราะอะไร
4. การพัฒนาโปรแกรมหรือระบบสารสนเทศใดๆ นั้น การเร่งงานมีส่วนมาเกี่ยวข้องหรือไม่อย่างไร





1.การเร่งงานมีประโยชน์หรือไม่ อย่างไร
  
    การเร่งงานมีประโยชน์ในการ การระดมทรัพยากรต่างๆให้เหมาสมกับงานและลดผลกระทบโดยนำสถาณการณ์วิเคราะห์สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับโครงการการได้เช่น
  • เวลาแล้วเสร็จของโครงการตามแผนใช้เวลามากกว่าเวลากำหนดไว้ 
  • เร่งระยะเวลาทำงานของงานบางงานในโครงการให้สั้นกว่าปกติ 
  • ค่าใช้จ่ายของโครงการอาจสูงเกินไปถ้าปล่อยให้ดำเนินตามแผน 
  • เร่งเวลาอาจทำให้ค่าใช้จ่ายลดลง 
               -  ค่าเช่าเครื่องจักรและอุปกรณ์
               -  ค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินค่าปรับ
           
  • การเร่งงานต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
              - ค่าใช้จ่ายเพิ่มอุปกรณ์แรงงาน
              - ค่าล่วงเวลา

2. การเร่งงาน ท่านคิดว่าปัจจัยอะไรที่จะต้องพิจารณาเป็นพิเศษ อธิบายประกอบเพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น
         
       ปัจจัยของการเร่งเวลาของโครงการต้องเร่งงานที่อยู่ในสายงานวิกฤติให้เสร็จเร็วขึ้น พิจารณางานวิกฤติเพื่อเร่งให้เร็วขึ้นนั้นต้องพิจารณางานวิกฤติที่มีอัตราค่าใช้จ่ายต่อหน่วยเวลาน้อยที่สุด




  รูปที่ 1  ความสัมพันธ์ค่าใ้ช้จ่ายและเวลา

โดยพยายามเร่งรัดบนเส้นทางวิกฤติให้มากที่สุด เลือกจาก ความลาดชันต่ำสุดถ้าไม่เกิดเส้นทางวิกฤติใหม่ให้เร่งรัดไปเรื่อยๆจนไม่สามารถลดได้

3. การเร่งงานที่ดีท่านคิดว่าควรลำดับจากอะไรก่อนหลังเพราะอะไร

           1) กำหนดความต้องการการเร่งงานว่าต้องการให้เสร็จภายในกี่วัน
           2) คำนวณเวลาเสร็จของโครงการ ระบุกิจกรรมวิกฤติ และเส้นทางวิกฤติ
           3) เร่งกิจกรรมที่มีค่าใช้จ่ายต่ำสุด
           4) คำนวณเวลาแล้วเสร็จถ้าไม่ได้ตามเป้าให้กลับไปทำ ข้อ  3 
           5) ปรับปรุงกำหนดงาน

4. การพัฒนาโปรแกรมหรือระบบสารสนเทศใดๆ นั้น การเร่งงานมีส่วนมาเกี่ยวข้องหรือไม่อย่างไร

         โครงการใดๆนั้นจะประกอบด้วยกิจกรรมย่อย ที่ต้องคอยจัดการว่าจะทำอะไรก่อนหลังต้องใช้ทัรพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดย การเร่งงานและการวิเคราะห์การฟงานภายในโครงการ จะช่วยให้เราสามารถมองกิจกรรมต่างๆภายในโครงการได้ และคำนวณเวลาที่ใช้ในกิจกรรม สามารถ เลือกขั้นตอนได้อย่างเป็นระบบ
        โดยเฉพาะการการพัฒนาโปรแกรมหรือระบบสารสนเทศ ที่มีโครงการใหญ่ๆและซับซ้อน ที่มีระบบงานที่กระจายเป็นระบบย่อยๆ และมีจำนวนมาก งานที่ดำเนินการอยู่อาจจำเป็นต้อง'เร่งการดำเนินการเพื่อควบคุมการทำงาน ตามแผนที่ได้วางไว้ หรือแล้วเสร็จเร็วกว่ากำหนด 

Project Management 11/12/2011




การหาค่า  b



การหาค่า  a


วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2554

4/12/2011 midterm


โครงการพัฒนาระบบหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินยางสักกระโพหลุ่ม ประกอบด้วยงานย่อย 9 งาน ซึ่งมีลำดับการทำงานและระยะเวลาการทำงานแสดงในตารางต่อไปนี้




วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Project Management 20/11/2011


  1. คำถามที่ 1 เอกสาร power point หน้า 13 มีกี่เส้นทาง ที่เป็นไปได้ และเส้นทางใดเป็น critical path พร้อมบอกระยะเวลาที่วิกฤติ
             จากภาพ มีทั้งหมด 3 เส้นทางที่เป็นไปได้คือ

  • A < D < I =0+3+8+6
  • B < E < G  < J = 0 +5+5+4+4
  • C < F < H < J =0+7+5+5+4



               วิเคราะห์หาวิถีวิกฤตของข่ายงาน วิถีวิกฤตของข่ายงานประกอบด้วยกิจกรรม C, F, H และโดยมีเวลาแล้วเสร็จของโครงการเท่ากับ 21 วัน
          
            2.   คำถามที่ 2 ท่านคิดว่า CPM กับ PERT ต่างกันอย่างไร หน้า 19 กับ 26
  
                      ทั้งสองเป็นเทคนิคการวิเคราะห์กิจกรรมในการประเมินความเป็นไปได้ ใช้สำหรับโครงการที่มีกิจกรรมขนาดใหญ่ มีกิจกรรมย่อย ๆ หลายกิจกรรม  ใช้เทคนิคการวิเคราะห์แบบเครือข่ายหรือโครงข่าย
                      ข้อแตกต่างชัดเจนระหว่าง PERT และ CPM คือ เวลาในการทำกิจกรรม กล่าวคือ เวลาในการทำกิจกรรมของ PERT จะเป็นเวลาโดยประมาณซึ่งคำนวณได้ด้วยการใช้ความน่าจะเป็น PERT จึงใช้กับโครงการที่ไม่เคยทำมาก่อน หรือโครงการซึ่งไม่สามารถเก็บรวบรวมเวลาของการทำกิจกรรมได้ เช่น โครงการพัฒนาวิจัย ส่วน CPM นั้น เวลาที่ใช้ในกิจกรรมจะเป็นเวลาที่แน่นอน ซึ่งคำนวณได้จากข้อมูลที่เคยทำมาก่อน เช่น อัตราการทำงานของงานแต่ละประเภท อัตราการทำงานของเครื่องจักร เป็นต้น CPM จึงใช้กับโครงการที่เคยทำมาก่อน ซึ่งมีความชำนาญแล้ว  

                                
CPM (Critical Path Method)
                                    -ใช้วางแผนควบคุม
                                    -ผู้วางแผนควรมีประสบการณ์
                                    -ต้องทราบรายละเอียด เวลา ทรัพยากรล่วงหน้า 

                                    -เวลาแต่ละงานแน่นอน และมีค่าเดียว 

                                PERT(Program Evaluation and Review Technique)
                                    -ใช้ปรับปรุง วางแผนประเมินงานใหม่ ๆ
                                    -ผู้ดำเนินงานไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์
                                    -มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดงานบ่อย
                                    -เวลา ไม่แน่นอน มี 3 ค่า  
จกรรมแล้วเสร็จได้เร็วที่สุด (optimistic time),กิจกรรม
                                            แล้วเสร็จได้ช้าที่สุด (pessimistic time) ทำกิจกรรมแล้วเสร็จ
                                            (most pikely time) ทำให้ทราบถึงเวลาแล้วเสร็จของโครงการว่าเป็นเท่าใด
                                            และกิจกรรมใดบ้างที่อยู่ในวิถีวิกฤต ซึ่งจะทำไปสู่การวางแผนตัดสินใจเพื่อ
                                            ควบคุมโครงการ หรือเร่งรัดโครงการต่อไป



                                

วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ระบบหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินยางสักกระโพหลุ่ม


ระบบหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินยางสักกระโพหลุ่ม



โครงการ                    ระบบหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินยางสักกระโพหลุ่ม                        
หน่วยงานรับผิดชอบ     โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยางสักกระโพ-หลุ่ม อำเภอม่วงสามสิบ
                  จังหวัด อุบลราชธานี


1.1  หลักการและเหตุผล

             หน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยางสักกระโพ-หลุ่ม อำเภอม่วงสามสิบ  จังหวัดอุบลราชธานี ให้บริการประชาชนในเขตรับผิดชอบตั้งแต่เดือนตุลาคม 2549 เป็นต้นมา ตามโครงการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานีกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี โดยรถพยาบาลของหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินและวิทยุสื่อสารประจำรถ องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานีเป็นผู้สนับสนุน การฝึกอบรมพนักงานกู้ชีพฉุกเฉินตามหลักสูตรเวชกรฉุกเฉินระดับพื้นฐาน (EMT-B) หลักสูตร 110 ชั่วโมง และอุปกรณ์ทางการแพทย์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานีรับผิดชอบ ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินเป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับอุบัติเหตุ และการเจ็บป่วยฉุกเฉินที่ล่าช้าไม่ได้รับการช่วยเหลือการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพและคุณภาพอย่างทันท่วงที หน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยาง-สักกระโพหลุ่ม มีพนักงานกู้ชีพ 6 คน ผ่านการอบรมหลักสูตร EMT-B จำนวน 4 คน และผ่านการอบรมชุดปฏิบัติการปฐมพยาบาล FR จำนวน 2 คน มีผลการดำเนินงานเฉลี่ยเดือนละ 95 ราย  รับผิดชอบ 4 ตำบล คือ ตำบลยางสักกระโพหลุ่ม ตำบลหนองไข่นก ตำบลโพนแพง และตำบลเตย จำนวน 40 หมู่บ้าน  ประชากร 27,500 คน ในการนี้ให้บริการทุกครั้งพนักงานกู้ชีพจะต้องบันทึกรายงานการให้บริการในแบบฟอร์มรายงาน  และรายงานแจ้งศูนย์สั่งการทันทีหลังจากเสร็จสิ้นการส่งผู้ป่วยและกลับถึงที่ตั้งหน่วย ทุกวันที่ 20 ของเดือนพนักงานกู้ชีพจะต้องจัดทำรายงาน ส่งที่ศูนย์สั่งการเพื่อขอเบิกเงินค่าตอบแทน ปัญหาที่พบในการปฏิบัติของพนักงานกู้ชีพ คือ การรวบรวมรายงานที่มีความซ้ำซ้อน ไม่ครบถ้วน อ่านการวินิจฉัยโรคของแพทย์หรือพยาบาลไม่ถูกต้อง และไม่ได้รวบรวมข้อมูลการให้บริการมาวิเคราะห์ เพื่อพัฒนาตนเองและตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพมากที่สุดเพื่อให้เกิดความพึงพอใจของผู้รับบริการ 
ดังนั้นจึงได้จัดทำและพัฒนาโปรแกรมระบบฐานข้อมูลการให้บริการของหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อช่วยในการเก็บข้อมูลและประมวลผลรายงานเพื่อให้ระบบข้อมูลมีคุณภาพครบถ้วน สามารถนำไปใช้การพัฒนาการให้บริการ เพื่อให้พนักงานกู้ชีพมีความสะดวกและรวดเร็วในการรวบรวมรายงาน
1.2  วัตถุประสงค์
                        1.2.1   เพื่อช่วยในการเก็บข้อมูลและประมวลผลรายงานเพื่อให้ระบบข้อมูลมีคุณภาพครบถ้วน
  1.2.2  เพื่อนำไปใช้การพัฒนาการให้บริการ
  1.2.3  เพื่อให้พนักงานกู้ชีพมีความสะดวกและรวดเร็วในการรวบรวมรายงาน
  1.2.4  เพื่อให้การดำเนินงานได้มาตรฐาน  ครอบคลุม และมีความยั่งยืน

1.3  ขอบเขตของระบบงาน

                     การพัฒนาโปรแกรมระบบฐานข้อมูลหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ให้เป็นที่เก็บรวบรวมข้อมูลการให้บริการของหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินยางสักกระโพหลุ่ม ผู้จัดทำโครงการได้พิจารณาแล้วเห็นว่ามีบุคคลที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
                     1.3.1  ผู้ดูแลระบบ
                                1.3.1.1  สามารถตั้งค่าหน่วยบริการได้
                                1.3.1.2  สามารถเพิ่ม ลบ แก้ไข ข้อมูลผู้ใช้งานระบบได้
                     1.3.2  เจ้าหน้าที่
                                1.3.2.1  สามารถค้าหา เพิ่ม ลบ  แก้ไข้ ข้อมูลหลัก  ซึ่งได้แก่  ข้อมูลประชากร  ข้อมูลเจ้าหน้าที่   ข้อมูลรถ    และคู่มือการวินิจฉัยโรค  ได้
                              1.3.2.2  สามารถนำข้อมูลตามแบบบันทึกบริการการแพทย์ฉุกเฉินมาบันทึกลงในระเบียน  สามารถเพิ่ม ลบ แก้ไขข้อมูลได้
                              1.3.2.3  สามารถประมวลผลรายงานและพิมพ์รายงานต่างๆ  เพื่อนำส่งไปยังศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉิน อุบลราชธานีและจัดเก็บข้อมูลเป็นหมวดหมู่ได้

1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

       1.4.1  มีสะดวกรวดเร็วในการเก็บข้อมูลประมวลผลรายงานเพื่อให้ระบบข้อมูลมีคุณภาพครบถ้วน
                       1.4.2  สามารถนำข้อมูลไปใช้การพัฒนาการให้บริการได้
                       1.4.3  มีความสะดวกและรวดเร็วในการรวบรวมรายงาน
                       1.4.4  การดำเนินงานได้มาตรฐาน  ครอบคลุม และมีความยั่งยืน
                        1.4.5 สามารถนำโปรแกรมไปประยุกต์ใช้งานบนโทรศัพท์มือถือได้

1.5  ระยะเวลาดำเนินการ




1.6   สถานที่ดำเนินการ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยางสักกระโพ-หลุ่ม อำเภอม่วงสามสิบ
                  จังหวัด อุบลราชธานี
                 
                  1.7 วิธีการดำเนินงานโครงงาน

                  1.7.1.  ศึกษาค้นคว้าทฤษฎีและผลงานที่เกี่ยวข้อง                                  
               1.7. 2.  กำหนดขอบเขตและเป้าหมายของโครงงาน
               1.7.3.  ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการของระบบ
               1.7.4.  วิเคราะห์และออกแบบฐานข้อมูลของระบบทั้งหมด
               1.7.5.  ออกแบบและพัฒนา ระบบ
               1.7.6.  เขียนโปรแกรมระบบและทดสอบปรับปรุงระบบ
               1.7.7.  จัดทำเอกสาร คู่มือการใช้
               1.7.8.  นำเสนอโครงการ

1.8   งบประมาณ
ใช้งบประมาณจากข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ในส่วนที่เกี่ยวข้อง ตามความจำเป็น และเป็นไปโดยประหยัด
1.9     ผู้รับผิดชอบ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยางสักกระโพ-หลุ่ม อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี


1.10     ผู้เขียนโครงการ

( นายอนุสรณ์  อุ่นท้าว)
ผู้เขียนโครงการ

1.11  ผู้พิจารณาและตรวจสอบโครงการ
ความเห็นผู้พิจารณาและตรวจสอบโครงการ....................................................................

(                                           )
หัวหน้าส่วนฝ่ายบริการ
                 1.12  ผู้อนุมัติโครงการ
ความเห็นผู้อนุมัติโครงการ........................ .......................................................................

(                                        )
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยางสักกระโพ-หลุ่ม



วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การบ้านสัปดาห์ที่ 1: ฟัง vcd แล้ว สรุปประเด็นเกี่ยวกับคำว่าโครงการ


ดูvcd การบรรยายของท่านองคมนตรีเกษม วัฒนชัย ทั้ง. 5 ตอนใน post FB ของผม แล้วสรุปว่าได้ทราบในประเด็นบ้างที่เกี่ยวกับคำว่าโครงการ
คำว่า โครงการ
โครงการ คือ : กิจกรรมหรือแผนงานที่เป็นหน่วยอิสระหนึ่งที่ สามารถทำการวิเคราะห์วางแผน และนำไปปฏิบัติ พร้อมทั้งมีลักษณะแจ้งชัดถึงจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด โดยแผนสำหรับกิจการต่างๆ ต้องระบุวัตถุประสงค์ตามระยะเวลาที่กำหนด
โครงการ คือ : การวางแผนล่วงหน้าที่จัดทำขึ้นอย่างมีระบบประกอบด้วยกิจกรรมย่อยหลายกิจกรรมที่ต้องใช้ทรัพยากรในการดำเนินงาน และคาดหวังที่จะได้ผลตอบแทนอย่างคุ้มค่า
แต่ละโครงการมีเป้าหมายเพื่อการผลิตหรือการให้บริการเพื่อเพิ่มพูนสมรรถภาพของแผนงาน ดังนั้นโครงการ จึงเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่ง ของการวางแผนที่จะทำให้องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมาย
โครงการ คือ : กิจกรรมหรือแผนงานที่เป็นหน่วยอิสระหนึ่งที่ สามารถทำการวิเคราะห์วางแผน และนำไปปฏิบัติ พร้อมทั้งมีลักษณะแจ้งชัดถึงจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด โดยแผนสำหรับกิจการต่างๆ ต้องระบุวัตถุประสงค์ตามระยะเวลาที่กำหนด
โครงการ คือ : การวางแผนล่วงหน้าที่จัดทำขึ้นอย่างมีระบบประกอบด้วยกิจกรรมย่อยหลายกิจกรรมที่ต้องใช้ทรัพยากรในการดำเนินงาน และคาดหวังที่จะได้ผลตอบแทนอย่างคุ้มค่า
แต่ละโครงการมีเป้าหมายเพื่อการผลิตหรือการให้บริการเพื่อเพิ่มพูนสมรรถภาพของแผนงาน ดังนั้นโครงการ จึงเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่ง ของการวางแผนที่จะทำให้องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมาย
ลักษณะของโครงการที่ดี
-          สามารถแก้ปัญหาขององค์การหรือหน่วยงานนั้น ๆ ได้
-          มีรายละเอียด วัตถุประสงค์เป้าหมายต่าง ๆ ชัดเจน สามารถดำเนินงานได้ มีความเป็นไปได้
-          กำหนดขึ้นอย่างมีข้อมูลความจริง(มีสถิติ ตัวเลข ข้อมูลจากองค์กรดังกล่าว)และเป็นข้อมูลที่ได้รับการวิเคราะห์อย่างรอบคอบ
-          อ่านแล้วเข้าใจว่านี้คือโครงการอะไร มีประโยชน์อย่างไร ทำไปเพื่ออะไร มีขอบเขตการทำแค่ไหน
-          มีระยะเวลาในการดำเนินงานแน่นอน ระบุวันเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุด
-          สามารถติดตามประเมินผลได้

จากที่ได้ฟังจาก vcd ทั้ง 5 ตอน พอสรุปที่ได้ประเด็นที่เกี่ยวกับโครงการได้ดังนี้
1. ประเด็นในเรื่องของหลักการทรงงาน ประเด็นนี้จะเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับโครงการคือ
-หลักคิด โดย หลักคิด จะทำให้รู้ว่า เราจะทำอะไร เพื่อประโยชน์อะไร ในทำนองเดียวกัน ว่าเราจะทำโครงการ เกี่ยวกับอะไร ทำโครงการนี้เพื่อประโยชน์อะไร
- หลักวิชา จะทำอย่างไรจึงจะถูกต้อง ประหยัด และได้ผล เหมือนเป็นการหาวิธี หรือหาข้อมูลเพื่อจะทำงาน เหมือนเราจะทำโครงการอะไร เราก็ต้องมีวิธี หรือแนวทางเพื่อนำปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
-หลักปฏิบัติ ก็คือวิธีปฏิบัติ เพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ และสามารถนำประเมินผลได้ ซึ่งโครงการที่ดีก็ต้องสามารถปฏิบัติได้และสามารถประเมินผลได้
2. ประเด็นในเรื่องการทำงานอย่างผู้รู้จริง ต้องมีศึกษาข้อมูลรายละเอียดอย่างรอบคอบและครบถ้วน เพื่อให้เข้าใจและสามารถลงมือปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ตรงตามวัตถุประสงค์
ข้อคิดเห็น : ทุกประเด็นที่ท่านองคมนตรีเกษม วัฒนชัย ที่ได้กล่าวมาใน vcd ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเข้าใจ เข้าถึง การพัฒนา หรือแม้แต่การ รู้รัก สามัคคี ล้วนมีส่วนที่เกี่ยวกับการทำโครงการให้ประสบผลสำเร็จ และ ยังสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

การบ้านวันที่ 17/09/2554 คลังบทความ 3 เรื่อง


เข้าไปที่ Blog http://mis-manoon.blogspot.com/ ซึ่งจะมีคลังบทความอยู่ด้านขวามือ มีด้วยกัน 3 เรื่อง โดยให้ทุกท่านอ่านบทความทั้ง 3 ซึ่งจะมีคำถามอยู่ในบทความนั้น แล้วให้เขียนตอบให้ Blog ของท่าน
1. กรณีศึกษาที่น่าสนใจเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ
คำถาม : จากข้อมูลของทั้ง 9 องค์การ ท่านสนใจองค์การใดมากที่สุด เพราะอะไร แล้วหากท่านได้รับมอบหมายในการพัฒนาระบบสารสนเทศองค์การดังกล่าว (องค์การที่ท่านสนใจมากที่สุดนั้น) ท่านคิดว่าจะพัฒนาระบบอะไรเพิ่มเติม พร้อมในเหตุผล
คำตอบ : องค์การที่ 5 ธุรกิจผลิตและจำหน่ายสินค้า เพราะ องค์การนี้นับว่ามีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ หากมีระบบงานที่จะมาช่วยให้ องค์การนี้มีการพัฒนาก็จะเป็นการช่วยส่งเสริมให้มีเศรษฐกิจที่ดีขึ้น หากได้รับมอบหมายในการพัฒนานาระบบสารสนเทศองค์การธุรกิจผลิตและจำหน่ายสินค้านี้ คิดว่าจะพัฒนาระบบวางแผนการจัดซื้อ เพราะเมื่อมีระบบการวางแผนที่ดีแล้วนั้นจึงสามารถวางแผนการจัดซื้อ วัตถุดิบ จัดการการผลิต และดำเนินการตามคำสั่งซื้อของลูกค้า ทำให้มีการรวมฝ่ายจัดซื้อของโรงงานต่าง ๆ มาอยู่ด้วยกัน ประโยชน์ที่ได้คือ ลดจำนวนพนักงาน สามารถทราบข้อมูลปริมาณวัตถุดิบในคงคลังได้ทันที เป็นต้น

2. โครงการด้านระบบสารสนเทศที่อาจจะสนองพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
คำถาม : ท่านคิดว่าจะสามารถพัฒนาหรือปรับปรุงระบบสารสนเทศเป็นอย่างแบบใดอย่างไรบ้าง พร้อมให้เหตุผลประกอบ
คำตอบ: ปรับปรุงระบบการเรียนการสอนแบบออนไลน์(e-learning) ซึ่งในปัจจุบันก็ได้มีการพัฒนาระบบนี้อยู่ แต่ควรปรับปรุงรูปแบบให้นักเรียน หรือแม้แต่บุคคลทั่วไปที่ต้องการศึกษาหาความรู้ โดย ระบบการเรียนการสอนแบบออนไลน์ในตอนนี้ สามารถให้นักเรียน เลือกหลักสูตร เลือกวิชาเรียน ศึกษาบทเรียน แทรกไฟล์ ดูผลการเรียนเป็นต้น ดังนั้นจึงควรปรับปรุงให้มีการมีการตอบโต้ หรือ สามารถให้แสดงความคิดเห็นในเรื่องนั้นๆที่มีการเรียนการสอน ครูก็จะทราบความคิดเห็นของนักเรียน ได้รับความคิดเห็นที่หลากหลาย จากหลายคนๆ หลาย website ที่ถูกอ้างอิง ทำให้เด็กฝึกทักษะในการแสดงความคิด การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

3. โครงการที่ตอบสนองนโยบายรัฐบาล ด้านระบบสารสนเทศ
คำถาม : ท่านคิดว่าการพัฒนาระบบสารสนเทศดังกล่าว ควรจะต้องมีระบบ e-service, web-service, front and back office หรือไม่อย่างไร และหากมีควรจะมีอะไรบ้างพร้อมระบุเหตุผลประกอบเพื่อจะได้นำไปปฏิิบัติได้ จริง
คำตอบ : คิดว่าการพัฒนาระบบสารสนเทศดังกล่าว ควรจะต้องมีระบบ e-service, web-service, front and back office เพื่อสอดรับกับมติคณะรัฐมนตรี นโยบายของรัฐบาลด้านการวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม (การใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ) และโครงการของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และประเด็นเสนอเพื่อพิจารณา ดำเนินโครงการ ศูนย์จัดการความรู้เพื่อพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี และ จังหวัดมุกดาหารโดยมีลักษณะรูปแบบที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ด้านทรัพยากรธรรมชาติ อุตสาหกรรม การเกษตร วัฒนธรรม และด้านอื่นๆ ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ซึ่งจากนโยบายเหล่านี้ e-service ,web-service จะช่วยให้บริการในด้านข้อมูล ให้ความสะดวกรวดเร็วในการให้บริการประชาชน และสามารถเป็นศูนย์ในการพัฒนา การจัดการองค์ความรู้เป็นคลังข้อมูลของแต่ละ จังหวัดในสถาบันอุดมศึกษาทุกจังหวัด front and back office ช่วยในการจัดเก็บข้อมูลที่ถูกต้องและทันสมัย มีการใช้ฐานข้อมูลร่วมทำให้ระบบมีการที่มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับนโยบายที่กล่าวมาได้







การบ้านวันที่ 17/09/2554 ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม


เข้าไปที่ http://m-culture.in.th/ แล้วทดลอง ลงทะเบียนใช้งาน แล้วหลังจากนั้น ให้วิจารณ์ระบบดังกล่าว โดยเขียนในลงบทความของท่าน
ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรมนี้ เป็นเว็ปไซต์ชุมชนสำหรับรวบรวมข้อมูลทางวัฒนธรรมของชาติ ประกอบด้วยข้อมูลของบุคคลหรือองค์กรทางวัฒนธรรม เช่น ปราชญ์ชาวบ้าน บุคคลสำคัญทางศาสนา เป็นต้น สิ่งประดิษฐ์ทางวัฒนธรรม รวมถึง โบราณวัตถุ หนังสือ งานศิลปะ เครื่องแต่งกาย วิถีชีวิต ภูมิปัญญา ตลอดจนสถานที่ทางวัฒนธรรม และแหล่งท่องเที่ยว ภาพถ่าย วีดิทัศน์ และภาพแอนิเมชั่นประกอบข้อความ ตลอดจนประสบการณ์และความคิดเห็นที่นำเสนอในเว็บไซต์นี้ รวบรวมและแบ่งปันโดยสมาชิก และกลั่นกรองข้อมูลอีกชั้นหนึ่งโดยวัฒนธรรมจังหวัด กระทรวงวัฒนธรรม
เว็ปไซต์ของศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรมนี้ เป็นระบบที่จัดทำขึ้นเพื่อบริการประชาชน เพื่อให้ความรู้ทางวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์ มีการนำเอาเทคโนโลยีมาช่วยในการเผยแพร่องค์ความรู้ทางวัฒนธรรม โดยมีเทคนิคที่ดีในการนำเสนอ คือ ให้มีระบบที่สามารถสมาชิกได้ แล้วให้สามารถ Upload ข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นไฟล์รูปภาพ ไฟล์วีดีโอเป็นต้น แล้วแชร์ข้อมูลกัน ซึ่งล้วนทำให้ผู้เยี่ยมชม หรือผู้รับบริการ ให้ความสนใจมากยิ่งขึ้น เป็นระบบที่มีความสะดวกสบายในการค้นหาเพราะสามารถค้นหาได้หลากหลายวิธี เช่นค้นหาตามจังหวัด ตามหมวดหมู่เป็นต้น
ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม นับได้ว่าเป็นการระบบที่มีการรวบรวมและบันทึกองค์ความรู้วัฒนธรรม ทั้งทางด้านคุณภาพ ความครอบคลุมและความเป็นปัจจุบันได้เป็นอย่างดี

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

Concept Font Office for Smart Office Development

         จากบทความเรื่อง "การพัฒนาเทคโนโลยี Smart Office ของกรมสรรพสามิต"  การพัฒนา ระบบFont Office ของกรมสรรพสามิต ควรมีการเชื่อมโยง National Single Window ของกรมศุลกากร เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการของหน่วยงานจัดเก็บภาษีและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการในการขอใบอนุญาตนำเข้า ขนส่ง  สุรา ยาสูบ ไพ่  ซึ่งผู้ประกอบการสามารถยื่นคำขอใบอนุญาตนำเข้าสุรา ยาสูบ ไพ่  ได้ที่หน่วยงานของกรมสรรพสามิตเพียงแห่งเดียว   เพื่อให้สอดคล้องกับการให้บริการในยุคโลกาภิวัฒน์ และรองรับการค้าแบบไร้เอกสาร(Paperless Trading)ระบบFont Office ของกรมสรรพสามิตควรประกอบด้วย
 ด้าน Software
  1. ระบบการออกใบอนุญาติแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Licensing) หรือการออกใบรับรองแบบอิเล็กทรอนิกส์(e-Certificate) เพื่ออำนวยความสะดวกรวดเร็วในการ ออกและขอใบอนุญาติ ,ใบรับรอง การจดทะเบียนสรรพสามิต เพื่อการทำงานสอดคล้องกับระบบ ศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์(e-Costoms)ของกรมศุลการกร ในส่วนนี้กรมสรรพสามิตควรมี Back Office เชื่อมโยงข้อมูลกับ ระบบลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์(Digital Signature) กับองค์กรรับรองความถูกต้อง(Certificate Authority หรือCA) เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 
  2. ระบบการเคลื่อนย้ายสินค้าสรรพสามิตโดยใช้เทคโนโลยี RFID:Radio Frequency Identification (e-Transition) เพื่ออำนวยความสะดวกในการติดตามสินค้าสรรพสามิตของผู้ประกอบการ 
  3. ระบบการคืนภาษีสรรพสามิต(e-Drawback) เป็นการให้สิทธิประโยชน์ในการคืนอากรสำหรับผู้ประกอบการ สำหรับงานขอคืน ยกเว้นภาษีสรรพสามิตและการหักลดหย่อนภาษีสรรพสามิต
  4. ระบบชำระภาษีสรรพสามิต(e-Payment)เพื่่อความสะดวกรวดเร็วในการชำระเงินให้แก่ผู้ประกอบการ
  5. ระบบคลังสินค้าทัณฑ์บน (e-Wearehousing) เพื่อจัดการและให้บริการเรื่องการจัดเก็บสินค้าสรรพสามิต
     ด้าน Hardware


             ควรเป็นการลงทุนแบบ ขอความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเชื่อมโยงข้อมูลโดยใช้เครื่องมือทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ หรือระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของหลายๆหน่วยงาน เพื่อรวมศูนย์เข้าสู่ฐานข้อมูลเดียวกัน โดยมุ่งเน้นให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว ลดขั้นตอนงานที่ซ้ำซ้อนลง ตลอดจนการบูรณาการแนวคิด และยุทธศาสตร์ ให้ตอบรับกับระบบงานระหว่างส่วนราชการด้วยกัน (Government to Government: G2G) และระบบงานระหว่างส่วนราชการกับภาคเอกชน (Government to Business: G2B) ซึ่งโดยปกติแล้ว ก็จจากการเร่งรัดะมีการรับ-ส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เชื่อมระบบกันในภาคธุรกิจต่อธุรกิจ หรือภาคเอกชนด้วย (Business to Business: B2B) 

  1. เทคโนโลยีเสมือน (Virtualization Technology)การจำลองเครื่องเสมือนให้สามารถใช้งานระบบประมวลผ หน่วยความจำ และฮาร์ดดิสก์ร่วมกันได้ในส่วนประกอบของเซิร์ฟเวอร์และสตอเรจ ผ่านทางระบบจัดการทรัพยากรส่วนกลาง ทำให้มีการใช้งานทรัพยากรไอทีได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถลดต้นทุนได้ในระยะยาว
  2. ระบบประมวลผลก้อนเมฆ (Cloud Computing) รูปแบบของการนำทรัพยากรไอทีทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์มาแบ่งกันใช้งานในลักษณะของการให้บริการ (Service) โดยมีการใช้งานผ่านทางอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงจากที่ต่างๆ ของโลก ซึ่งรูปแบบของการให้บริการแบบนี้สามารถแบ่งได้ออกเป็น 1) Private Cloud 2) Public Cloud และ 3) Hybrid Cloud ซึ่งเป็นการนำเอา Private Cloud และ Public Cloud มาทำงานร่วมกัน ซึ่งการใช้บริการนี้จะทำให้กรมสรรพสามิต สามารถลดต้นทุนไปได้มาก เพราะเป็นการใช้งานแบบจ่ายตามจริง 
  3. เทคโนโลยีจัดเก็บข้อมูลผ่านทางไอพี (IP Storage Technology)บนมาตรฐานไอสกัสซี (Small Computer Systems Interface over IP : iSCCI) ซึ่งเป็นการเข้าถึงอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลผ่านเครือข่าย มีจุดเด่นอยู่ที่การบริหารจัดการข้อมูลแบบรวมศูนย์ โดยการเชื่อต่อกับเซิร์ฟเวอร์ทุกตัวภายในองค์กรด้วยใยแก้วนำแสง (Fiber Channel) จึงทำให้ส่งผ่านข้อมูลขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว และสามารถดึงข้อมูลจากจุดใดก็ได้ การบริหารข้อมูลแบบนี้ช่วยลดต้นทุนในการจัดการและบำรุงรักษาได้มากกว่าการจัดเก็บข้อมูลแบบหลายจุด หรือการจัดเก็บที่เซิร์ฟเวอร์โดยตรง
ด้าน Peopelware

  1.  ทำการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการใช้ Software และ Hardware ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานสูงสุด
  2. จัดอบรมการวิธีดูแลรักษา Software และ Hardware เพื่อให้ระบบต่างๆเพื่อการคงสภาพการใช้งานของระบบ
        ซึ่งจะสามารถนำไปสู่การพัฒนาระบบเทคโนโลยี เพื่อนําไปสู่วิสัยทัศน์คือ องค์กรพลวัตเพื่อการจัดเก็บภาษีที่มีมาตรฐานสากล ปกป้องสังคมและสิ่งแวดล้อม 

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

CRM & Front to Back office

         Customer Relationship Management : CRM คือ การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า โดยการใช้เทคโนโลยีและการใช้บุคลากรอย่างมีหลักการจะช่วยให้เกิดการบริการลูกค้าที่ดีขึ้น การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมในการใช้จ่ายและความต้องการของลูกค้า ทำให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือการบริการรวมไปถึง นโยบายในด้านการจัดการ
Font Office คือ ระบบจัดการที่เกี่ยวข้องกับการอำนวยความสะดวกแก่ผู้บริโภค
Back Office คือ ระบบจัดการภายในองค์กร
อ้างถึง บทความ "องค์กรในฝัน Font-To-Back-Office" และ โจทย์ที่ถามไว้ว่า "ระบบ CRM จะกลายเป็น Font-To-Back-Office ได้อย่างไร"


พื้นฐาน ของ Font-To-Back-Office ประกอบด้วย
  1. การบริหารความสัมพันธ์ลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ
  2. การบริหารจัดการต้นทุนธุรกิจที่ลดลง และการเพิ่มขึ้นของกำไรในที่สุด
  3. เพิ่มขีดความสามารถของการแข่งขันขององค์กรในระยะยาว
Font Office CRM เป็นระบบจัดการที่เกี่ยวข้อง การอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้า ,การขายได้อย่างรวดเร็วอย่างมีประสิทธิภาพตรงความต้องการของลูกค้า ,การเข้าถึงลูกค้าโดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ไร้พรมแดน การเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการ โดยบริหารจัดการ CRM -To- Font Office ขององค์กรผ่าน Web Service ที่อยู่ ในรูปแบบ One-Stop-Service เช่น ระบบซื้อขายสินค้าออนไลน์ การคืนเงินผ่าน E-Bank การติดตามการขนส่งสินค้า ผ่านระบบ Logistics การแนะนำข้อมูลสินค้า ระบบ Costumer Service ระบบรับประกันสินค้า ระบบติดตามสินค้าในกรณีส่งซ่อม ฯลฯ ซึ่งโปรแกรมต่างๆจะอยู่ในรูปแบบของการให้บริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จนี้้จะช่วยอำนวยความสะดวกสบาย ,ประหยัดทรัพยากรณ์ ด้านบุคคล เวลา และ สถานที่ ตลอดจนบริหารความสัมพันธ์ลูกค้าได้มีประสิทธิภาพ
Back Office CRM เป็นระบบที่อยู่ในส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลและใช้ให้เกิดประโยชน์ ในการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า  โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลลูกค้าได้อย่างมีระบบ และนำมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ระบบสมนาคุณลูกค้า บริษัทสามารถมอบของกำนัลให้แก่ลูกค้าในวันคล้ายวันเกิดของลูกค้า โดยดึงเอาข้อมูลจากประวัติลูกค้า ระบบให้ข้อมูลตัวอย่างสินค้า โดยระบบจะให้ข้อข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวที่ตรงกับข้อมูลที่ลูกค้าสนใจ  เป็นต้น